USAGE OF THAI LANGUAGE 050100

Just another WordPress.com site

ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

              ภาษาไทย เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสื่อสารกันในประชาชาติไทย ดังที่ ศาสตราจารย์พิเศษ มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม” ว่า “ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติไทย น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาวิชาทั้งหลาย” ข้อความดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำนำครั้งที่หนึ่งของหนังสือเล่มนี้ จะเห็นได้ว่า ภาษาไทยถูกลดความสำคัญลงตั้งแต่ปีพ.ศ.2520 (อย่างน้อยก็สามารถอนุมานได้จากปีพุทธศักราชที่ศาสตราจารย์พิเศษ มล.บุญเหลือได้เขียนไว้) และในทางกลับกันมีคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามรักษา อนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาไทยให้กลับมามีความสำคัญทัดเทียมกับวิชาอื่นๆ

                  หนังสือ “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม” ไม่เพียงแต่จะกล่าวถึงความสำคัญของภาษาไทยเท่านั้น หากแต่ยังให้ความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมไทยอีกด้วย นอกจากนั้นศาสตราจารย์พิเศษ มล.บุญเหลือ ยังให้คำแนะนำ ข้อสังเกตและแนวทางในการฟื้นฟู อนุรักษ์รวมทั้งรักษาภาษาและวรรณกรรมไทยไว้อีกด้วย

                    แม้ว่าภาษาไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา กล่าวคือ ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย ฉะนั้นจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางภาษาไทย อาจจะเกิดจากการกร่อนเสียง กลืนเสียงและอื่นๆตามบริบทและสภาพของสังคม ท่านผู้คงแก่เรียนด้านภาษาไทยที่เป็นอนุรักษ์นิยมอาจจะทนไม่ได้ที่วัยรุ่นใช้ศัพท์สแลงต่างๆ เช่น ชิมิ อิ๊อิ๊ ชุบุหรือแซบแว้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยแวดล้อมต่างๆ สิ่งสำคัญ คือ ในฐานะผู้ใช้ภาษาไทยจะให้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หากการเปลี่ยนแปลงนั้นเลวลงกว่าเดิม คงอาจจะกล่าวไม่ได้ว่านั่นคือการพัฒนา แต่กลายเป็นการทำลายภาษาเสีย หากผู้ใช้ภาษารู้สึกสำนึกว่าภาษาไทยเป็นส่วนหนึ่งและเป็นตัวแทนของเอกลักษณ์ของชาติไทยก็ย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อาจจะเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ว่า “การพัฒนา”

57 thoughts on “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

  1. Pimpilai Wannasut 530510455 on said:

    เขียนแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาเป็นเครื่องมือการสื่อสารของมนุษย์ ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษากาย เป็นต้น ภาษาแสดงให้เห็นถึงความมีเอกลักษณ์ของประเทศ ทุกประเทศต่างวิริยะในการสร้างภาษาให้เป็นเอกลักษณ์ของตน ประเทศไทยของเรามีภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของประเทศและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่างกัน คนไทยได้รับการฝึกทักษะภาษาโดยเริ่มจากภาษาพูด การอ่าน และภาษาเขียน คนไทยจะใช้ภาษาพูดได้ดีกว่าภาษาเขียน และการอ่าน ใช้ภาษาพูดในชีวิตประจำวันมากที่สุด จึงทำให้เกิดความบกพร่องในการสื่อสารและการใช้ภาษาไทย เช่น ใช้คำว่าลูกไม้ แทนคำว่าอุบาย จิ๊บ แทนคำว่า ง่าย เนิบ แทนคำว่า ช้า ต็อกต๋อย แทนคำว่ากระจอก เป็นต้น อีกประการหนึ่งการใช้ภาษาพูดจะทำให้ภาษาเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและ อาจกล่าวได้ว่าคนไทยมีทักษะการอ่านและการเขียนที่ต่ำ การโฆษณาปัจจุบันใช้สำนวนที่กำกวม เช่น การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ อักษร ส บ ม ส่งผลให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความหมาย และการสื่อสารระหว่างกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นเหตุให้ภาษาไทยวิบัติ เช่นคำต่อไปนี้ ใช่ไหม จะพิมพ์ว่า ชิมิ , ไป จะพิมพ์ว่า ปาย , เดี๋ยว จะพิมพ์ว่า เด๋ว , หญิง จะพิมพ์ว่า หยิง , สวัสดี จะพิมพ์ว่า ซาหวัดดี, ได้ไหม จะพิมพ์ว่า ได้มั้ย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ดิฉันเห็นว่าคนไทยควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการร่วมมือกันระหว่าง ครูประจำทุกวิชาควรมีความรู้ในการใช้ภาษาไทย ควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีต่อลูกศิษย์ ครูประจำวิชาภาษาไทยควรให้ความดูแลเอาใจใส่ นักเรียนอย่างใกล้ชิด ให้นักเรียนมีทักษะการอ่าน ทักษะการเขียนทักษะการพูดที่ดี และพัฒนาสื่อการสอนให้เหมาะสมตามกาลเวลา นักเรียนควรมีความตั้งใจในการเรียนวิชาภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง นอกจากนี้ผู้ปกครอง เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียน ผู้ปกครองควรให้นักเรียนทบทวนความรู้และให้คำแนะนำกับนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย เมื่อทุกฝ่ายตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นร่วมมือกัน ภาษาไทยของเราจะยังคงเป็นเอกลักษณ์ของไทยตลอดกาล

    นางสาวพิมพิไลย วรรณสุทธิ์ รหัส 530510455 ตอนที่ 7

  2. Sangrawee Kainta 530510502 section 7 on said:

    เขียนแสดงความคิดเห็น เรื่อง ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน คือ ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาส่งผลต่อความเสียหายในการใช้ภาษ และการไม่บังคับให้เรียนภาษาไทยระดับอุดมศึกษา การเกิดความเสียหายในการใช้ภาษาสาเหตุมาจาก ภาษาทุกภาษาย่อมเปลี่ยนอยู่เสมอ คนรุ่นหนึ่งกับคนอีกรุ่นหนึ่งจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างหรือใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนกัน จะเห็นได้ว่าที่เราคิดว่าคนไทยสองคนสามารถออกเสียงใดเสียงหนึ่งเหมือนกันนั้นไม่เป็นความจริง และเห็นได้ว่าคนรุ่นลูกอาจออกเสียงนี้ได้สูงกว่าหรือต่ำกว่ารุ่นพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้ ความเสียหายทางภาษาเกิดจากการสื่อสารกันได้ไม่ดี ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ การใช้ภาษาที่กำกวม คนที่ฟังหรือคนอ่านเข้าใจเลื่อนราง ไม่แน่ชัด นี่ก็เป็นความเสียหายทางภาษาอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสารที่ก่อความรังเกียจเครียดแค้น และความเสียหายสุดท้ายทางภาษา คือ นักเรียนในโรงเรียน และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นเด็กวัยรุ่นชอบขัดแย้งผู้ใหญ่โดยธรรมชาติ และในทางภาษาชอบใช้ภาษาอย่างโลดโผนและชอบสร้างสรรค์ความนึกคิดของตนเอง และ สร้างสรรค์ถ้อยคำสำนวนใหม่ขึ้นมาใช้ เช่น ภาษาที่ใช้ติดต่อกันในอินเทอร์เนต ได้แก่ เอ็มเอสเอ็น เฟซบุ๊ค และ ทวิทเตอร์ เป็นต้น ภาษาที่ใช้จดบันทึก อาทิ การเขียนไดร์อารี่ และ การเขียนล็อคบุ๊ค เป็นต้น และที่สำคัญคือภาษาที่ใช้กับการพูดที่ปัจจุบันนี้วัยรุ่นหรือนักเรียนไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาที่ใช้พูดกัน เป็นต้น ในขณะเดียวกันนักเรียนวัยรุ่นก็ต้องเตรียมตัวออกไปร่วมสังคมกับผู้ใหญ่จะต้องคำนึงถึงการประกอบอาชีพของผู้ใหญ่ และมีปัญหาเรื่องเพศเกิดขึ้นในวัยนี้ ความสุขในวัยเด็กและความคับข้องใจที่เกิดเพราะวัยของตนเองจะมีอิทธิพลต่อความเจริญทางภาษาเป็นอย่างมาก ครูทุกคนควรนึกถึงในข้อนี้ด้วยเพื่อประสบผลสำเร็จในการสอน เท่าที่เป็นมาโรงเรียนไทย ก็เป็นไปตามที่วางแผนไม่เกิดความขัดแย้งจนเกิดไป การสอบได้ก็เป็นเรื่องบังเอิญไป แต่การพัฒนาทางภาษาที่ได้จากโรงเรียนมีน้อยมาก รวมไปถึงการฝึกหัดครูต่อไป สำหรับการไม่บังคับให้เรียนภาษาไทยระดับอุดมศึกษา เพราะเห็นว่านักเรียนได้เรียนภาษาไทยมาพอแล้วในโรงเรียนประถมและมัธยม นี่เป็นเหตุหนึ่งนอกเหนือไป จากความรู้สึกที่กล่าวแล้ว ทำให้นักเรียนไม่พอใจกับการเรียนภาษาไทยในโรงเรียน แท้ที่จริง นักเรียนชั้นอุดมควรจะเรียนภาษาไทยเพิ่มเติม เพราะยังไม่สามารถใช้ภาษาได้เพียงพอ ความไม่เข้าใจในการสื่อสารสถาบันชั้นอุดมไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ นักเรียนชั้นอุดมศึกษาควรมีความสามารถใช้ภาษาในการเรียบเรียงรายงานและวิทยานิพนธ์ จะเห็นได้ว่า ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน เกิดจากภาษาที่ถูกต้องเกิดการเปลี่ยนไปจากเดิม คนไทยทุกคนควรรักษารูปเดิมภาษาไทยไว้เพื่อให้ภาษาไทยไม่เกิดการผิดเพี้ยนหรือสูญหายไป

  3. Patipat Paipew 532110054 on said:

    ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม

    บทวิจารณ์ หัวข้อเรื่อง “ ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน ” ภาษาไทยในอดีตมีการดำเนินการสอนที่เน้นเนื้อหาในหนังสือเรียนมากกว่าที่จะสอดแทรกทักษะในด้านต่างๆที่จำเป็นให้แก่ผู้เรียน เช่น ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และการแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาณ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ซึ่งบุคคลที่ได้รับการศึกษาน้อยจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็น พูดในเชิงวิชาการและการใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองได้ดีไปกว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับขั้นที่สูกว่าได้ จึงเป็นข้อบกพร่องของคนไทยที่ไม่รู้ว่าจะเรียนภาษาไทยไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้ประโยชน์อะไร ทั้งๆที่รู้และคุ้นเคยกับภาษาไทยเป็นอย่างดีจากครอบครัว คนในชุมชน และสิ่งแวดล้อมรอบตัว จึงทำให้คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอย่างไม่ถูกต้องทั้งการพูดและการเขียนทำให้การสื่อสารผิดเพี้ยนไปจากความหมายที่ต้องการจะสื่อ เช่นการใช้คำกำกวมที่สามารถตีความหมายไปได้หลายแง่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร นอกจากนี้คนในสมัยก่อนยังยึดหลักภาษาที่ตนให้เป็นเกณฑ์คิดว่าภาษาที่ตนใช้นั้นถูกต้องแล้วเมื่อเจอกับภาษาใหม่ที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็ไม่สามารถยอมรับได้คิดว่าภาษาใหม่นั้นผิด แต่แท้ที่จริงแล้วภาษาใหม่ที่ใช้กันนั้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์มากกว่าในสมัยก่อนเพียงแค่มีการปรับแต่งให้มีตึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็นมากขึ้นแค่นั้น ส่วนปัจจุบันบุคคลการที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาไทยได้รับการอบรมในเรื่องของทักษะการถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยที่ดีขึ้นทำให้ภาษาไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและมีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลงของภาษาใหม่ที่เกิดขึ้นในการโฆษณาผลิตภัณฑ์และสินค้าต่างๆที่ใช้คำชวนเชื่อและการเล่นคำที่ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็น ในด้านการเรียนการสอนนักเรียนได้รับส่งเสริมทักษะทั้งการพูด การอ่าน การเขียน และการใช้วิจารณญาณ ทำให้นักเรียนมีศักยภาพในการใช้ภาษามากขึ้นผ่านทางกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆที่ฝึกทักษะเหล่านี้โดยตรงจากการปฎิบัติจริง ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รับการศึกษาในระดับขั้นที่สูงหรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับขั้นที่ต่ำกว่าก็สามารถแยกแยอะและแสดงความคิดเห็นได้ แต่ความสามาถในการใช้ภาษาไม่เท่ากัน

  4. Patinya Sukunta 5405410744 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ปัจจุบันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านโดยเฉพาะการพูดและกาสอนซึ่งจะเห็นได้ชัดในการพูดเป็นอย่างมากเนื่องจากการเลียนแบบคำโฆษณาที่มีการพัฒนาคำโฆษณามาก ทำให้วัยรุ่นนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบันจึงเกิดความคิดที่ว่า ”ภาษาวิบัติ” อันที่จริงแล้วภาษาโฆษณานั้นต้องใช้คำที่กระแทกความรู้สึกของผู้ฟังจึงมีคำแปลก ๆ มากขึ้นซึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์แล้วไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงเพราะมนุษย์ในสมัยปัจจุบันต้องเผชิญกับสำนวนต่าง ๆ พอเคยชินกับถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ นี้ก็จะลืมกันไปถ้าถ้อยคำสำนวนไหนคมขำถ้อยคำสำนวนนั้นก็จะมีคนจำนวนมากนำมาใช้ดังจะเห็นว่าการเลียนแบบคำโฆษณาไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องวิตกกังวลเลยแต่เรื่องที่ต้องเป็นห่วงคือ เรื่องการเรียนการสอนภาษาไทยของแต่ละระดับการศึกษาเพราะส่วนมาครูจะคิดว่าวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สอนยากจึงได้แค่สอนเหมือนในตำรา เมื่อผลลัพธ์ออกมากลับคิดว่าเป็นเพราะกระทรวงศึกษาธิการที่มีวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนแท้จริงหลักสูตรของกระทรวงทำขึ้นสำหรับให้แต่ละโรงเรียนได้เพิ่มเติมเนื้อหาการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสังคมนั้น ๆ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยขาดหนังสือในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่กระจ่างชัดทำให้ครูผู้เป็นเสมือนผู้ถ่ายทอดต้องพยายามทำให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักการจริง ๆ ของภาษาไทยแต่ครูในประเทศไทยส่วนมากจะสอนแบบให้นักเรียนฟังอย่างเดียวหรือแนะนำหนังสือให้นักเรียนไปศึกษาเองซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกในการสอนภาษาเพราะการสอนภาษาไม่เหมือนวิชาอื่นตรงที่ภาษามีความซับซ้อนมากจะทำเหมือนวิชาอื่นไม่ได้แต่สาเหตุไม่ได้มาจากครูเพียงอย่างเดียว นักเรียนและสภาพสังคมเองก็มีส่วนเพราะปัจจุบันคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือเมื่อไม่อ่านก็จะไม่สามารถพูดหรือเขียนอย่างมีประสิทธิภาพได้เมื่อการใช้ภาษาขาดประสิทธิภาพการดำเนินชีวิตย่อมขาดประสิทธิภาพด้วย สาเหตุที่ได้กล่าวมาไม่เพียงจะกระทบต่อตัวเราแต่กระทบถึงประเทศด้วย ประเทศที่กำลังพัฒนาพยายามที่จะกำหนดภาษาให้กับประเทศตัวเองเพราะประเทศเหล่านี้เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ถ้าขาดภาษาประจำชาติเป็นการขาดเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังจะเห็นว่าภาษาสำคัญกับตัวเราและประเทศชาติมากแต่ปัจจุบันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมากจนน่าเป็นห่วงอาจจะเพราะขาดอุปกรณ์ในการประกอบการเรียนการสอนและการมองข้ามความสำคัญของภาษาไทย

  5. Suttinan Thanombun 540510712 on said:

    แสดงความคิดเห็นเรื่อง ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม โดยผู้เขียนคือ ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ไปแล้วนั้น พบว่าเป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนภาษาไทยตั้งแต่สมัยอดีต ตั้งแต่การมีภาษาไทยใช้จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ เนื้อหาในหนังสือส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงปัญหา และมีข้อความที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านมากมาย เช่น การตีความวรรณกรรม ที่บอกไว้อย่างละเอียดว่าควรทำอย่างไร และที่ข้าพเจ้าให้ความสนใจมากเป็นพิเศษนั่นคือหัวข้อ พฤติกรรมทางภาษากับการสื่อสาร ที่ผู้เขียนได้เขียนอย่างละเอียดชัดเจน เปรียบดังผู้เขียนนั้นรอบรู้ด้านนี้เป็นอย่างมาก โดยผู้เขียนได้ผ่านการสัมมนาด้านภาษาไทยมาแล้ว จึงมาเขียนในหัวข้อนี้ ซึ่งผู้ที่ถูกผู้เขียนกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ เหล่าครู/อาจารย์สอนภาษาไทย ที่ผู้เขียนมองว่ายังไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปให้นักเรียนนักศึกษาได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับผู้เขียน ซึ่งอาจจะโทษที่ผู้บริหารที่ว่าไม่มีความพร้อมในการบริหาร แต่ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า คิดว่าไม่ว่าใคร ก็ควรจะมองที่ตัวเราเองก่อนว่าทำดีแล้ว ทำสุดความสามารถแล้วหรือยัง ถึงไปโทษใครเขา เพราะหากเราทำดี สิ่งดีๆที่เราทำไปนั้นย่อมส่งผลอย่างแน่นอน อย่างเช่นการที่ครูภาษาไทยสอนภาษาไทย แล้วนักเรียนที่ได้เรียนด้วยนั้นมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เก่งภาษาไทยเพิ่มขึ้น สามารถใช้ความรู้ความสามารถที่ครูสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ และโดยรวมแล้วข้าพเจ้าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความที่ว่า ภาษาสำคัญในการสื่อสารยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้นเพราะข้าพเจ้าคิดว่าภาษามีไว้เพื่อการสื่อสารเป็นหลัก และการให้ครูสอนให้นักเรียนคิดให้เป็น เป็นหลัก แล้วผู้เขียนยังอ้างว่า ความคิดจะเจริญงอกงามได้อย่างไร เมื่อไม่มีความคิดพัฒนาการทางภาษาย่อมเกิดไม่ได้ ข้าพเจ้าคิดว่าประโยคเหล่านี้มีความถูกต้องและสามารถนำมากล่าวให้ผู้อ่านอีกหลายๆท่านคิดตามได้ และเกิดความอยากรู้อยากเข้าใจในภาษาไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้เขียนยังแนะเรื่องของหัวใจของการเรียนการสอนภาษาไทยว่าควร ดำเนินไปตามศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอนด้วย เพราะครูไทยนั้นมีศักยภาพที่ไม่ได้ใช้อีกมากมาย แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีครูที่สอนให้นักเรียนอ่านตำราท่องจำศัพท์ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นเด็กไทยคนหนึ่งซึ่งไม่ชอบการกระทำเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงขอสรุปความคิดเห็นทั้งหมดว่าข้าพเจ้าเห็นด้วยกับผู้เขียนในหลายด้านและอยากให้ทุกคนที่ใช้ภาษาไทยได้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะจะเป็นการดีมากจะได้มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดเหมือนข้าพเจ้า ที่บางครั้งก็เข้าใจภาษาไทย เข้าใจครูภาษาไทยผิดไปอย่างมาก หนังสือเล่มนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะอ่านและขบเขี้ยวเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกับข้าพเจ้า

  6. Tawatchai kaeonan 540510787 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    สังคมเปลี่ยนไปทำให้ภาษาที่ใช้เปลี่ยนแปลง ภาษาคือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารให้เข้าใจตรงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ในการสื่อสารด้วยภาษานั้น ภาษาที่ใช้สื่อสารนั้นมีหลายรูปแบบ เช่นการสื่อสารด้วยภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาท่าทาง เป็นต้น แต่ละยุคละสมัยภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ภาษาที่ถูกใช้เกิดการผิดเพี้ยนในการสื่อความหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การพูด น้ำเสียงของผู้พูด อาจทำให้ความหมายนั้นเปลี่ยนไปได้ นอกจากนี้แล้วต้นเหตุหลัก ของภาษาที่ผิดเพี้ยนไป ยังมีในเรื่องการสอนที่ผิดในโรงเรียนหรือแม้กระทั่งในมหาวิทยาลัย นั่นคือผู้ที่สอนก็ยังไม่เข้าใจในภาษาที่สอนอย่างถ่องแท้ หรือผู้สอนไม่เข้าใจในธรรมชาติของภาษานั้นนั้น นอกจากนี้แล้วภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันนี้ ยังขาดปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ผิด จึงทำให้การใช้ภาษานั้นไม่ถูกต้องตามแบบแผน ถึงแม้ว่าภาษาที่เป็นลายลักษณอักษรนั้นจะถูกต้องตามแบบแผนแล้วนั้น ถ้าผู้รับสารอ่านสารเหล่านั้น แล้วเกิดความไม่เข้าใจ ตีความหมายเป็นอย่างอื่นที่ไม่ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร เช่นนี้ก็ทำให้ภาษานั้นผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน ในการส่งสารแบบลายลักษณ์อักษรนั้น ปัจจุบันการส่งสารแบบนี้ก็เป็นวิธีหลักที่ใช้ในการสื่อสารกัน และในสังคมปัจจุบันการก้าวเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยี การสื่อสารแบบลายลักษณ์อักษร มีการใช้มากและสดวกกว่าการพูดสื่อสารเพราะว่าไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการส่ง สามารถสื่อสารกันในขณะที่อยู่ต่างที่ ได้โดยรวดเร็ว เพราะเหตุนี้ทำให้ มีการหันมาใช้การสื่อสารในรูปแบบนี้มากขึ้น ซึ่งในการสื่อสารแบบนี้จำเป็นต้องพิมพ์สื่อหากันทางออนไลน์ ดังนั้นทำให้ผู้ที่ส่งสารนั้นใช้ภาษาที่ผิดแบบแผนเพราะว่าผู้ส่งสารต้องการสื่อสารให้รวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงเรื่องหลักภาษา เพียงแค่จุดเล็กๆเช่นนี้ แต่เมื่อทำบ่อยๆ ทุกวัน ก็ทำให้ภาษาที่ใช้นั้นผิดเพี้ยนเหมือนกัน นอกจากนั้น ช่วงวัยแต่ละช่วงวัยในชีวิตก็ใช้รูปแบบภาษาที่ต่างกัน ในช่วงวัยเด็ก ภาษาที่ใช้สื่อสารกันก็มักเป็นภาษาที่ใช้คำง่ายๆเข้าใจได้ทันที ในช่วงวัยรุ่นก็ใช้ภาษาที่ยากต่อการเข้าใจ ซึ่งภาษาที่วัยรุ่นใช้นั้นจะเข้าใจกันในเฉพาะหมู่หรือกลุ่มของวัยรุ่นเท่านั้น การภาษาของวัยรุ่นนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาถูกเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเพราะว่าจะบังคับให้แก้ไขก็ทำได้ยาก ภาษาที่วัยรุ่นใช้นั้นมักเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาที่พูดสั้นๆ แต่สามารถสื่อถึงอารม ความหมายได้ ภาษาต่างประเทศนี้นอกจากวัยรุ่นเป็นผู้นำมาปรับเปลี่ยนเพื่อใช้สื่อความหมายให้ฟังแล้วเท่ห์ดูดีแล้ว ช่วงวัยอื่นๆก็นำภาษาต่างประเทศมาใช้เหมือนกัน เนื่องจาก การมีค่านิยมตามกันในสังคม การใช้ภาษาต่างประเทศแทนภาษาของชาติหรือภาษาแม่ ก็ทำให้ภาษาที่เคยใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน นอกจากภาษาต่างประเทศแล้ว ในภาษาที่เราจำเป็นต้องรู้แต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ เช่น ภาษาใช้ในการสื่อสารกับเชื้อพระวงศ์ ภาษาเหล่านี้มีการใช้คำที่ยากมาก แต่การไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช่ ทำให้เกิดการลืมได้ ทำให้ภาษานั้นถูกลบลืมไปจากสังคมไปไม่มากก็น้อย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภาษาจะถูกเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของยุค ของสังคมเสมอ

  7. Tanja Braem 530510268 on said:

    ปัญหาของภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาเป็นเอกลักษณ์สำคัญของประเทศ ภาษาไทยก็เช่นกัน เมื่อใช้ภาษาเป็นระยะเวลานาน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับยุคการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยจึงเป็นสิ่งที่ “หนีไม่ได้” เช่น การพูดแบบไม่เป็นทางการของเยาวชน (ใช่ไหม เป็น ใช่ป่ะ) การลดรูปคำ (มหาวิทยาลัย เป็น มหา’ลัย) การกร่อนเสียง (หมากม่วง เป็น มะม่วง) การรับคำต่างชาติ (ฟรี เกมส์ ดิจิตอล) และการคิดคำศัพท์ใหม่ๆตามยุคสมัย(เซ็งเป็ด แป้ก) เป็นต้น ทำให้ ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านมีความแตกต่างจากภาษาไทยในอดีต การเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นสิ่งที่เกิดกับทุกภาษาที่ ”ดิ้นได้” มีข้อดีคือ ภาษามีการพัฒนา ภาษาสามารถครอบคลุมสิ่งต่างๆมากขึ้นจากคำใหม่ ส่วนข้อเสียคือ การสนทนาไม่บรรลุผล เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ผลที่บรรลุที่สุดคือ เกิดความเข้าใจระหว่างคนส่งสารและคนรับสาร และเหมาะสมกับ “กาลเทศะ แต่การเลือกใช้คำผิดหรือรับความรู้จากผู้สอนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของภาษา สอน “จินตนาการ” สิ่งที่ไกลตัว มากกว่าการให้ตัวอย่างที่ถูกต้อง ไม่สอนถึงผลเสียของการใช้คำผิดทั้งการฟ้องร้อง การทะเลาะซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ไม่แนะนำการใช้คำของสื่อใกล้ตัวเช่นโฆษณาที่เลือกใช้คำที่แปลก เพื่อเป็นที่รู้จัก ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่เกิดผลกระทบจากการสอนแบบผิดๆ ภาษาเขียนที่ผู้เรียนต้องใช้ในการติดต่อราชการหรือติดต่อธุรกิจในอนาคตก็ได้รับผล เห็นได้ว่าผู้เรียนเขียนจดหมายติดต่อเรื่องราชการไม่ได้ นอกจากคนที่มีประสบการณ์นอกห้องเรียน การศึกษาจึงเป็นส่วนที่มีผลต่อการใช้ “ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ” มากที่สุด ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาควรได้รับการอบรมให้รู้การใช้ภาษา และการพูดตามโอกาสต่างๆ แม้จะมีความสามารถไม่เท่ากับผู้ที่ได้รับการศึกษา แต่พวกเขาก็สามารถเข้าสังคมและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ การเรียน “ภาษาของชาติ” มีการสนับสนุนไม่มากนัก ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยไม่มีการบังคับเรียน ทุนเรียน “ภาษาของชาติ”มีจำนวนน้อย ไม่แปลกที่คนจะไม่เห็นความสำคัญและเปลี่ยนแปลงภาษา คนจำนวนมากก็ไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงภาษาในยุคเปลี่ยนผ่าน แต่ไม่จัดการปัญหาที่ต้นเหตุ ทำเพียงแต่ออกมาเรียกร้องให้รัก “ภาษาของชาติ” และอ้างว่าภาษาในอดีต “ดีที่สุด” และเหมาะสมต่อการใช้มากที่สุด ซึ่งความเหมาะสมไม่มีผู้ใดสามารถพูดได้ว่าภาษาใดดีที่สุดเพราะทุกคนเป็น “เจ้าของภาษา” ล้วนแต่เชื่อว่าภาษาของตน “ดีที่สุด” เมื่อกล่าวไม่ได้ว่าภาษาใดเหมาะสม ก็สังเกตกาลเทศะของการใช้ เช่นการพูดในหมู่เพื่อน “มึง กู คิง เซ็ง ” การพูดกับผู้ใหญ่ “ค่ะ ครับ ขอบคุณ” เมื่อใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจธรรมชาติของภาษา การเปลี่ยนแปลงภาษาก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องต่อต้าน เมื่อภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง มีความเหมาะสม ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

  8. Nutnaree Harnjai 512110033 section 009 on said:

    เขียนแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”
    วัฒนธรรมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชียและยุโรปกำลังเข้ามามีอิทธิพลกับประเทศไทยอย่างรวดเร็วและมากขึ้นเรื่อยๆ ภาษาไทยในปัจจุบันจึงมีความสำคัญกับสังคมไทยน้อยลงมากเมื่อเทียบกับในอดีต จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง “ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม” ซึ่งเป็นงานเขียนของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล.บุญเหลือ เทพสุวรรณ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับเนื้อความที่ว่า “สังคมไทยกำลังเปลี่ยนจากสังคมที่มีวัฒนธรรมของตนเอง ไปเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมพัวพันกับวัฒนธรรมต่างๆในโลกโดยที่สมาชิกในสังคมไม่รู้ตัวและไม่เข้าใจ” เพราะเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากมีการใช้ภาษาไทยปะปนกับภาษาต่างประเทศ อีกทั้งบางคนยังให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศมากกว่าภาษาไทย จึงทำให้ภาษาไทยถูกนำไปใช้อย่างผิดๆและถูกลดความสำคัญลงจนกระทั่งเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การใช้ภาษาวิบัติ การใช้ภาษาโดยไม่คำนึงความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ เป็นต้น นอกจากอิทธิพลจากต่างประเทศที่เข้ามามีผลกับการใช้ภาษาไทยแล้ว การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยไม่ได้รับการให้ความสำคัญจากเด็กและเยาวชนไทยเท่าที่ควร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยในอนาคตได้อีกด้วย เนื่องจากภาษาคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ความหมาย เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไปยังทุกศาสตร์และทุกสาขาวิชา แต่ปัจจุบันเด็กไทยส่วนใหญ่ที่เรียนจบชั้นประถมศึกษายังอ่านภาษาไทยไม่คล่องและสะกดคำไม่แม่น จึงสื่อสารความหมายที่ลึกซึ้งไม่ได้ ส่งผลให้สมองขาดฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการคิด เชื่อมโยงและต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ศาสตร์อื่นได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไทยอ่อนแอด้านภาษา คือ กระบวนการสอนของพ่อแม่และครูในปัจจุบัน ที่ยังไม่สอดรับกับธรรมชาติการรับรู้ในระบบสมองของมนุษย์ คือเน้นการท่องจำมากกว่าความเข้าใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นการเรียนภาษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจในวิชาอื่น คนทั่วไปไม่ค่อยทราบความสำคัญของภาษาตรงนี้ จึงละเลยและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนวิชาภาษาไทยและมุ่งไปที่การเรียนวิชาอื่นเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามหากจะกล่าวว่าการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีส่วนทำให้เด็กและเยาวชนไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยหรือใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องแค่นั้นคงไม่ได้ เพราะอิทธิพลจากต่างประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับภาษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  9. Nilobon Agsornsoponpun 532110053 on said:

    ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารในทุกยุค ทุกชนชาติ เพื่อสื่อสารกับคนในชาติ ต่างชนชาติ ต่างศาสนา รวมไปถึงต่างวัฒนธรรม ให้สามารถเข้าใจซึ่งกันและกัน มนุษย์สรรหาทุกวิธีไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร หากสามารถทำให้ผู้รับสาร และผู้ส่งสารเข้าใจรวมกัน และเป็นไปตามเจตนารามณ์ที่ถูกต้องถือเป็นการสื่อสารที่ดี และควรค่าแก่การเก็บรักษา มิใช่เพียงภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้นที่มีคุณค่ากว่าภาษาอื่นๆ หากแต่เพียงเป็นการดีอย่างยิ่งที่เจ้าของภาษาในแต่ละชาติสามารถใช้ และเข้าใจภาษาของตนอย่างถูกต้องในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ก่อนแสวงหาภาษาอื่นๆ และละเลยภาษาของชาติตนไปในที่สุด ซึ่งไม่ต่างไปจากการได้ใหม่ลืมเก่า ผลที่ตามมาคือการไม่สามารถใช้ภาษาใดในการสื่อสารที่ถูกต้องได้เลย ภาษามีการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติ หากเพียงการสื่อสารในปัจจุบนนั้นก้าวหน้ากว่าในอดีตมาก ทำให้การพัฒนาทางภาษา และการเรียนรู้ทางภาษาเป็นไปได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ผู้คนเรียนรู้ภาษาอย่างไม่ถูกวิธี เนื่องด้วยการขาดผู้ชี้นำ จึงทำให้ภาษาในชาติเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถอธิบายความหมายของคำได้ชัดเจนเท่าคำที่ยังไม่ได้พัฒนา ผู้ที่สามารถใช้ภาษาในแต่ละภาษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหมายถึงการที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจ และถูกต้อง ควรมีส่วนช่วยในการพัฒนาภาษา หรือยอมรับในภาษาที่ถูกพัฒา หรือเกิดขึ้นมาใหม่ หากภาษานั้นสามารถเข้าใจร่วมกันได้ การเปลี่ยนแปลงทางภาษาไม่มีวันสิ้นสุด เพราะมนุษย์นั้นยังดำเนินชีวิตต่อไปไม่สิ้นสุด มิใช่เพียงชาติเราเท่านั้นที่มีเปลี่ยนแปลงทางภาษา เพียงเราไม่สามารถรู้ลึกถึงปัญหาด้านการใช้ภาษาในยุคเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ของชาติอื่นๆ ได้ดีเท่าชาติของตนเองเท่านั้น

  10. Tanja Braem 530510268 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาเป็นเอกลักษณ์สำคัญของประเทศ ภาษาไทยก็เช่นกัน เมื่อใช้ภาษาเป็นระยะเวลานาน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับยุคการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยจึงเป็นสิ่งที่ “หนีไม่ได้” เช่น การพูดแบบไม่เป็นทางการของเยาวชน (ใช่ไหม เป็น ใช่ป่ะ) การลดรูปคำ (มหาวิทยาลัย เป็น มหา’ลัย) การกร่อนเสียง (หมากม่วง เป็น มะม่วง) การรับคำต่างชาติ (ฟรี เกมส์ ดิจิตอล) และการคิดคำศัพท์ใหม่ๆตามยุคสมัย(เซ็งเป็ด แป้ก) เป็นต้น ทำให้ ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านมีความแตกต่างจากภาษาไทยในอดีต การเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นสิ่งที่เกิดกับทุกภาษาที่ ”ดิ้นได้” มีข้อดีคือ ภาษามีการพัฒนา ภาษาสามารถครอบคลุมสิ่งต่างๆมากขึ้นจากคำใหม่ ส่วนข้อเสียคือ การสนทนาไม่บรรลุผล เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ผลที่บรรลุที่สุดคือ เกิดความเข้าใจระหว่างคนส่งสารและคนรับสาร และเหมาะสมกับ “กาลเทศะ แต่การเลือกใช้คำผิดหรือรับความรู้จากผู้สอนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของภาษา สอน “จินตนาการ” สิ่งที่ไกลตัว มากกว่าการให้ตัวอย่างที่ถูกต้อง ไม่สอนถึงผลเสียของการใช้คำผิดทั้งการฟ้องร้อง การทะเลาะซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ไม่แนะนำการใช้คำของสื่อใกล้ตัวเช่นโฆษณาที่เลือกใช้คำที่แปลก เพื่อเป็นที่รู้จัก ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่เกิดผลกระทบจากการสอนแบบผิดๆ ภาษาเขียนที่ผู้เรียนต้องใช้ในการติดต่อราชการหรือติดต่อธุรกิจในอนาคตก็ได้รับผล เห็นได้ว่าผู้เรียนเขียนจดหมายติดต่อเรื่องราชการไม่ได้ นอกจากคนที่มีประสบการณ์นอกห้องเรียน การศึกษาจึงเป็นส่วนที่มีผลต่อการใช้ “ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ” มากที่สุด ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาควรได้รับการอบรมให้รู้การใช้ภาษา และการพูดตามโอกาสต่างๆ แม้จะมีความสามารถไม่เท่ากับผู้ที่ได้รับการศึกษา แต่พวกเขาก็สามารถเข้าสังคมและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ การเรียน “ภาษาของชาติ” มีการสนับสนุนไม่มากนัก ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยไม่มีการบังคับเรียน ทุนเรียน “ภาษาของชาติ”มีจำนวนน้อย ไม่แปลกที่คนจะไม่เห็นความสำคัญและเปลี่ยนแปลงภาษา คนจำนวนมากก็ไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงภาษาในยุคเปลี่ยนผ่าน แต่ไม่จัดการปัญหาที่ต้นเหตุ ทำเพียงแต่ออกมาเรียกร้องให้รัก “ภาษาของชาติ” และอ้างว่าภาษาในอดีต “ดีที่สุด” และเหมาะสมต่อการใช้มากที่สุด ซึ่งความเหมาะสมไม่มีผู้ใดสามารถพูดได้ว่าภาษาใดดีที่สุดเพราะทุกคนเป็น “เจ้าของภาษา” ล้วนแต่เชื่อว่าภาษาของตน “ดีที่สุด” เมื่อกล่าวไม่ได้ว่าภาษาใดเหมาะสม ก็สังเกตกาลเทศะของการใช้ เช่นการพูดในหมู่เพื่อน “มึง กู คิง เซ็ง ” การพูดกับผู้ใหญ่ “ค่ะ ครับ ขอบคุณ” เมื่อใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจธรรมชาติของภาษา การเปลี่ยนแปลงภาษาก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องต่อต้าน เมื่อภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง มีความเหมาะสม ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

  11. Orarik Paurikasiri 541510283 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาไทยถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของชาติไทย เมื่อกาลเวลาผ่านไปภาษาไทยนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ความบันเทิง การประกอบอาหาร หรือ การศึกษา เป็นต้น โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของไทย ทำให้นักเรียนในสมัยปัจจุบันสะดวกสบายมากขึ้นในการค้นคว้าหาข้อมูลในการเล่าเรียน แต่ปัญหาที่ตามมาพร้อมกับเทคโนโลยีคือความมักง่ายกล่าวคือเด็กเพียงแค่ไปคัดลอกมาจากอินเทอร์เนต ไม่ได้ศึกษารายละเอียดอย่างถ่องแท้ และอาจ ก่อให้เกิดรูปแบบของภาษาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมในกลุ่มเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ เช่น การใช้คำทับศัพท์ การคิดค้นคำใหม่ขึ้นมาใช้ การใช้ภาษาพูดในการเขียน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งต่อภาษาไทย ค่านิยมเก่าๆที่ถูกต้องเริ่มลบเลือนหายไป การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือต้องแก้ไขที่ระบบการเรียนการสอนภาษาไทย เริ่มจากครูอาจารย์ ควรเข้าใจสภาพและลักษณะของสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และนำมาปรับใช้ในการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ผู้สอนต้องมีการวิจัยและวิธีการทดสอบผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ ในการสอนควรให้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการใช้ภาษาในสังคม และ ถูกต้องตามหลักภาษา ในการสอนภาษาสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นคือ หนังสือ ต้องสอนให้ผู้เรียนใช้ภาษาให้ถูกต้อง คือรู้จักฟัง และ รู้จักพูดตามกาลเทศะและตามประเพณีในการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันควรให้ความสำคัญในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและตามความจำเป็น เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันสูงสุดต่อผู้เรียน และไม่ให้เป็นการบั่นทอนระบบการเรียนการสอนภาษาไทยให้เป็นไปในทิศทางลบ วิธีการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้โดยความร่วมมือของทุกคนในสังคมไทย เรามีประเทศชาติเป็นของตนเอง เรามีภาษาเป็นของตนเอง เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนควรหวงแหน และ รักษาเอกลักษณ์ที่ดีงามของชาติไว้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

  12. ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    พูดไทยปนอังกฤษไม่ผิดแผก เขียนไทยแทรกอังกฤษเป็นนิสัย ไทยไม่ซึ้งถึงค่าภาษาไทย ก็ควรไปเป็นข้าฝรั่งมัน วรรคทองสำคัญจากหนังสือไทยไม่ซึ้งถึงค่าภาษาไทย วรรคทองนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้แต่งต้องการสื่อถึงการใช้ภาษาของคนไทยในปัจจุบันมีการใช้ที่เปลี่ยนไปจากในอดีต ตามกาลเวลาและสังคมที่เปลี่ยนไป
    ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม ทำให้เห็นว่าภาษาไทยในปัจจุบันและอดีตมักจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้แต่งหลายอย่าง สาเหตุที่ภาษาถูกปรับเปลี่ยนอาจเป็นเพราะ กาลเวลา โดยกาลเวลาทำให้คนไทยใช้ภาษาของตนแตกต่างจากรูปแบบภาษาไทยในสมัยอดีต รวมทั้งค่านิยมในการรักภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาชาติเกิดที่ปลูกฝังเยาวชนน้อยลง ทำให้เยาวชนบางคนรู้สึกไม่ค่อยภูมิใจที่ได้ใช้ภาษาไทย หันไปใช้ภาษาต่างชาติมากขึ้นอาจเนื่องจาดูมีการศึกษาและดูทันสมัยตามกระแสค่านิยมในสังคมปัจจุบัน นอกจากจะมีปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าปัญหาการเรียนและการสอนภาษาไทยในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญเนื่องจาก การปลูกฝังการเขียน การอ่าน ของเยาวชนไทยยังมีปัญหาอยู่มาก อาจเพราะว่าเยาวชนเห็นว่าการเรียนภาษาไทยเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย และ ผู้สอนภาษาไทยไม่มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจต่อผู้เรียน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเป็นปัญหาตั้งแต่เยาวชนประถมศึกษาจนถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา เช่น การใช้ภาษาไทยไม่ถูกกาลเทศะ ดังเช่นการใช้ภาษาทางการและภาษาไม่ทางการ นอกจากนี้ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่สามารถสื่อสารกับบุคคลได้ทั่วโลก หรือการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้คนไทยได้มีการสื่อสารกับชาวต่างชาติมากขึ้นกว่าในสมัยอดีต นอกจากนี้การที่คนไทยบางส่วนได้ไปศึกษาที่ต่างประเทศ พอเมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ถ่ายทอดความรู้วิชาการให้กับนักศึกษา ใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาหลักได้ไม่ถูกต้อง ใช้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศทำให้เยาวชนเกิดความเคยชินและนำมาใช้จนเกิดความสับสนได้ ในปัจจุบันเยาวชนไทยส่วนมากใช้ภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องมากนัก รวมถึงข้าพเจ้า สังเกตจากการใช้ภาษาของเยาวชนที่พบมากในเครือข่ายชุมชนออนไลน์ หรือ เว็บบอร์ด การสนทนาออนไลน์ รวมทั้งที่นิยมเป็นอย่างมากอย่างเฟซบุ๊ก เยาวชนมีการใช้คำที่แปลกมากขึ้น มีลักษณะง่ายต่อการพิมพ์และเลียนแบบเสียงตามอารมณ์ความรู้สึก จนทำให้บางครั้งรู้สึกว่าคำศัพท์บางคำเขียนถูกต้อง จนทำให้ใช้คำนั้นจนเคยชิน อย่างเช่นคำว่า “มั้ย” ใช้ในประโยคคำถามแต่ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า “ไหม” ถึงจะถูกตามหลักภาษาไทย จากสื่อสังคมออนไลน์หลายอย่างทำให้เยาวชนซึมซับการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องและเกิดคำศัพท์ใหม่มากขึ้นที่เรียกว่า “ศัพท์วัยรุ่น” ซึ่งคล้ายคลึงกับคำศัพท์แสลงของภาษาอังกฤษ
    ภาษาทุกภาษาในโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่แตกต่างกันตรงที่บางภาษาอย่างให้ความสำคัญ อนุรักษ์ภาษาของชาติ ให้ความสำคัญกับภาษาของตนและภูมิใจที่จะใช้ภาษาอย่างภาคภูมิใจ ต่างจากประเทศไทยเราที่ละเลยความสำคัญในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์ภาษาไทยให้สวยงาม รวมทั้งการปลูกฝังความภูมิใจในภาษาไทย ถึงแม้ชาติไทยเราจะไม่เคยเป็นประเทศราชทางการเมืองของชาติใด แต่หากคนรุ่นใหม่ยังไม่สนใจในภาษาของชาติตน ในไม่ช้า ประเทศไทยเราอาจจะเป็นประเทศราชทางภาษาของชาติอื่นก็เป็นได้ หากคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับภาษาไทยมากยิ่งขึ้น

    นางสาวนวพร อ่ำรอด 541510106 sec 007

  13. Nanthawan Nuan-Iam 532110052 on said:

    ภาษาไทยยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็นศิลปะของชาติชนิดหนึ่ง เป็นแหล่งเริ่มต้นของการศึกษาเรียนรู้ เราจึงควรให้ความสำคัญกับภาษา เช่น ชาติทุกชาติก็จะมีเอกลักษณ์สำคัญ เป็นภาษา เราจึงควรใส่ใจในการศึกษาหาข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทย พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า เครื่องมีที่เราใช้นั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรและอยู่ในสภาพเช่นไร รู้เท่าทัน ธรรมชาติของภาษา ไม่ทำให้ภาษาวิบัติ ปัจจุบันภาษาต้องต่อสู้กับสำนวนที่นักโฆษณาใช้ เหตุผลเพื่อให้กระทบกระเทือนความรู้สึก ยิ่งฟังดูแปลกหูมาก ก็จะเริ่มสรรหาคำใหม่ ถ้อยคำสำนวนเดิมก็จะลืมกันไป เช่นเดียวกับคนหนุ่มสาวที่ จะเบื่อถ้อยคำสำนวนเดิม ก็จะเปลี่ยนใหม่ให้กะทัดรัด คมขำ มากขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะว่า ตอนนี้สังคมไทยของเรากำลัง เปลี่ยน เปลี่ยนจากสังคมโบราณ มาเป็นสมัยใหม่ เปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมพาณิชย์ เปลี่ยนจากสังคมชนบทล้วนๆ มาเป็นสังคมเมืองในบางแห่ง เปลี่ยนจากสังคมที่มีวัฒนธรรมของตนเอง ไปเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม พัวพันกับวัฒนธรรม ต่างๆในโลก สิ่งต่างๆเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยน ส่วนหนึ่งของชีวิตสังคมเราไป ภาษา จึงเปลี่ยนไป การใช้ภาษาได้ดีหรือไม่ดีก็ตามขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลหนึ่งๆ เราจึงต้องเห็นประโยชน์ที่แท้จริงในการศึกษา การที่เราศึกษาย่อมเกิดผล ภาษานำมาถ้อยสำนวนเป็นคำประพันธ์ เป็นวรรคดี นำมาประพันธ์สร้างสรรค์ เป็นดนตรี ที่ให้ภาษาช่วยในการสื่อความหมายที่ลึกซึ่งซับซ้อนโดยอาศัยเสียงของดนตรี ช่วยให้เข้าถึงได้ คนส่วนใหญ่ศึกษาเล่าเรียนมานั้นมุ่งเห็นประโยชน์แต่เพื่อจำเป็นต่อการใช้สอบ จากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ทราบว่าการเกิดภาษานั่นยาก จะสร้างมาสามารถให้คน สื่อสารกันเข้าใจ จะต้องผ่านการพัฒนา หลายรุ่น หลายสมัย ตั้งแต่เรามีชาติ เกิดก่อนที่เราจะเป็นชาติ ฉะนั้นเราคนไทย ใช้ภาษาไทย ไม่ว่าภาษาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรต่อไป เพียงแค่เรายังรักในภาษาของเรา เห็นประโยชน์ของความเป็นศิลปะของชาติ เราก็จะอยากที่จะอนุรักษ์ ไว้ ไม่ให้เสีย เราเป็นเยาวชนเป็นนักเรียน ที่เรียนภาษาไทย เป็นคนไทยที่ใช้ภาษาไทย เรามีโอกาสรักษาอนุรักษ์ความเป็นไทย เราก็ควรทำหน้าที่ของเรา อย่างที่เยาวชนคนหนึ่งพึ่งทำ

  14. นาย ปัถพงศ์ สุวรรณ์ รหัส ๕๑๐๕๑๐๔๒๐
    วิชา ๐๕๐๑๐๐ ตอนที่ ๐๐๗
    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ในปัจจุบันความสำคัญและการให้ความสนใจในวิชาภาษาไทยมีน้อยลงไปเรื่อยๆตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปรง ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา หรือแม้กระทั่งครูอาจารย์ เป็นต้น ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ จึงได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม ขึ้น โดยหนังสือเล่นนี้มีการจัดพิมพ์ขึ้นทั้งหมด ๔ ครั้งด้วยกัน ในครั้งแรกๆไม่มีการจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย แต่ในเวลาต่อมามีการร้องขอจากครูอาจารย์และผู้คนทั่วไปที่สนใจให้มีการพิมพ์เพื่อจำหน่าย จึงมีการจัดพิมพ์ขึ้นอีก เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของครูอาจารย์ภาษาไทยและผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาและมีไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และเพื่อให้เกิดผลดีแก่ภาษาไทยอันเป็นสมบัติมีค่ายิ่งสำหรับประชาชาติไทยต่อไป ในยุคปัจจุบันผู้คนในประเทศได้ให้ความสำคัญต่อภาษาไทยน้อยมาก โดยส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่า พวกเขารู้และเข้าใจในภาษาไทยดีแล้ว เพราะได้ใช้ภาษาไทยตั้งแต่ตื่นนอน จึงทำให้ไม่ค่อยสนใจในภาษาไทยที่ถูกต้องและไม่มีการศึกษาภาษาไทยอย่างกระจ่าง สืบเนื่องไปจนถึงนักเรียน นักศึกษา ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจในวิชาภาษาไทย เนื่องจากแนวคิดและความคิดดังกล่าว และพวกเขาไม่มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการเรียนวิชาภาษาไทย เป็นเพราะว่าครูอาจารย์ขาดแคลนวัสดุและอุปกรณ์ในการสอนภาษาไทย และไม่มีการส้รางและการชักจูงใจให้นักเรียน นักศึกษา เกิดกระบวนการคิด จึงทำให้ไม่เกิดความเข้าใจในภาษาไทย ในสมัยนี้ผู้คนได้นำเอาภาษาจากต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ มาผสมหรือมาพูดรวมกันในประโยคเดียวกับภาษาไทยทำให้เกิดศัพท์ใหม่ๆ และทำให้เกิดการผิดเพี้ยนและการใช้ภาษาไทยที่ผิดไป ในปัจจุบันนี้ได้เกิดศัพท์ใหม่ๆขึ้นมากมายเป็นศัพท์ของวัยรุ่นยุคใหม่ เช่น เฟี้ยวเงาะ นะเว้ยเฮ้ย เซ็งเป็ด จ๊าฟ ฟุบุ๊ ฟุบุ๊ เป็นต้น ทุกวันนี้ภาษาไทยได้ถูกนำไปใช้ในการสื่อสารกันที่ผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างมาก ถือเป็นยุคของการเสื่อมลงของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านจากยุคที่ภาษาไทยถูกให้ความสำคัญและมีการพัฒนาในทางอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู้ยุคของการรวมเผ่าพันธุ์เข้ากับภาษาไทยวัยรุ่นกลายเป็นภาษาไทยที่ใช้กันผิดๆอย่างทุกวันนี้

  15. Sontaya Wonghorkam 540510704 on said:

    เราเป็นคนไทย มีเชื้อชาติ และสัญชาติไทย แต่ทำไมถึงได้มีหนังสือที่มีชื่อว่า “ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม” นั่นได้บ่งบอกว่าวิชาภาษาไทยกำลังด้อยความสำคัญและถูกลบเลือนจากความคิดและความทรงจำของคนไทย แล้วเราจะปล่อยให้ความเป็นเอกราชของชาติไทยที่บรรพบุรุษของเราได้ต่อสู้เพื่อรักษาให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้ภาคภูมิใจนั้นถูกลืมอย่างง่ายดายตามวันเวลาหรืออย่างไร
    และด้วยความรักภาษาไทยเป็นชีวิตจิตใจของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล. บุญเหลือ เทพสุวรรณ ได้เขียนหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยเห็นคุณค่าและเข้าใจอย่างถูกต้อง ที่จะมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในทุกระดับการศึกษาของไทย ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับทุกเรื่องที่ถูกเปรียบเทียบและอธิบายอย่างชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์และพฤติกรรมระหว่างการสอนภาษาไทยกับค่านิยมในปัจจุบัน ในบทความที่ว่า “คนเราถ้าไม่ต้องต่อสู้รบยื้อยุดสิ่งใด เรามักเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของหาง่าย เราไม่เคยถนอม ไม่ค่อยทำนุบำรุง ภาษาจึงมีความสำคัญน้อยในสายตาของไทยทั่วๆไป…โดยเฉพาะในวงการศึกษา” ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านได้เข้าใจถึงพื้นฐานความเป็นไทยอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง ในการบรรยายมีการยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน และเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยสำหรับผู้อ่าน เช่นบทความที่ว่า “การสอนภาษาของชาติควรได้รับความสำคัญอันดับหนึ่งในวงการศึกษา” ซึ่งได้ให้เห็นความแตกต่างกับฝรั่งเศสที่ไม่เคยเสียดายเงินหรือแรงงานในการที่จะรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ให้เป็นภาษาสื่อสารระหว่างชาติต่างๆในโลก แต่ในความบกพร่องของประเทศไทยที่จะทำให้ภาษาไทยนั้นถูกลืม คือการขาดความเอาใจใส่และความพยายามในอันที่จะค้นหาวิธีสอนที่ได้ผล และการผลิตวัสดุอุปกรณ์ไม่ก้าวหน้าทั้งที่คนไทยมีอัจฉริยะในการใช้ภาษาที่น่าสนใจคือ นิยมออกเสียงวรรณยุกต์แนบสนิทไปกับเสียงสระ แต่ถูกมองข้ามความสำคัญเพียงการสอนที่ขาดกลวิธีการสอนที่ดึงดูดใจ ผู้เรียนจึงไม่เห็นความสำคัญ เช่น การให้เขียนเรียงความจะถูกเมินไปตามกันของผู้เรียนเพราะไม่รู้จะเขียนอะไร ซึ่งเหตุก็คือไม่ได้อ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
    เมื่อสังคมเปลี่ยนไป วัฒนธรรมหลากหลายทางด้านภาษาที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของคนไทย โดยยกเว้นวัฒนธรรมไทยที่มีเพียงคนไทยส่วนน้อยมากที่เห็นความสำคัญ เพียงเพราะการรับอารยธรรมต่างชาติมาใช้โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองที่ดีซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการบกพร่องในการปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กไทยรักความเป็นไทย และขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงในเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ถ่ายทอดมาให้ได้ศึกษาในรูปแบบวรรณกรรม วรรณคดี แต่ถูกละลดความสำคัญไปกับซีรีย์เกาหลีที่ได้กลายเป็นค่านิยมของวัยรุ่นที่เป็นอนาคตของชาติไปโดยห้ามมิได้ ซึ่งเห็นผลที่มีอยู่ทุกวันนี้ คือ นักเรียนไม่ชอบวิชาภาษาไทย อย่างไรก็ตามวิชาภาษาไทย ไม่น่าจะถูกลืมทั้งหมดแต่อาจจะมีความสำคัญในนักเรียนบางกลุ่มหรืออาจจะถูกนำมาเป็นค่านิยมที่คนไทยทุกคนรู้จักและไม่ปฏิเสธที่จะรักษาและดำรงให้สืบทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไปของชาติไทย ถ้าหนังสือ ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนการสอนของผู้สอนวิชาภาษาทุกคนและมีการนำเนื้อหา ข้อคิดเห็นของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล. บุญเหลือ เทพสุวรรณ ที่ได้แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยว่าควรนำไปใช้อย่างยิ่ง หนังสือที่วางไว้บนชั้นวางตามร้านขายหนังสือหรือห้องสมุดเล่มนี้อาจเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของชาติไทย ในด้านที่ดีทางภาษา หลักการ และวรรณคดีไทยต่อไป

  16. Nawaphon Aumrod 541510106 sec 007 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    พูดไทยปนอังกฤษไม่ผิดแผก เขียนไทยแทรกอังกฤษเป็นนิสัย ไทยไม่ซึ้งถึงค่าภาษาไทย ก็ควรไปเป็นข้าฝรั่งมัน วรรคทองสำคัญจากหนังสือไทยไม่ซึ้งถึงค่าภาษาไทย วรรคทองนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้แต่งต้องการสื่อถึงการใช้ภาษาของคนไทยในปัจจุบันมีการใช้ที่เปลี่ยนไปจากในอดีต ตามกาลเวลาและสังคมที่เปลี่ยนไป
    ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม ทำให้เห็นว่าภาษาไทยในปัจจุบันและอดีตมีลักษณะไม่เหมือนกัน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้แต่งหลายอย่าง สาเหตุที่ภาษาถูกปรับเปลี่ยนอาจเป็นเพราะ กาลเวลา โดยกาลเวลาทำให้คนไทยใช้ภาษาของตนแตกต่างจากรูปแบบภาษาไทยในสมัยอดีต รวมทั้งค่านิยมในการรักภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาชาติเกิดที่ปลูกฝังเยาวชนน้อยลง ทำให้เยาวชนบางคนรู้สึกไม่ค่อยภูมิใจที่ได้ใช้ภาษาไทย หันไปใช้ภาษาต่างชาติมากขึ้นอาจเนื่องจาดูมีการศึกษาและดูทันสมัยตามกระแสค่านิยมในสังคมปัจจุบัน นอกจากจะมีปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าปัญหาการเรียนและการสอนภาษาไทยในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญเนื่องจาก การปลูกฝังการเขียน การอ่าน ของเยาวชนไทยยังมีปัญหาอยู่มาก อาจเพราะว่าเยาวชนเห็นว่าการเรียนภาษาไทยเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย และ ผู้สอนภาษาไทยไม่มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจต่อผู้เรียน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเป็นปัญหาตั้งแต่เยาวชนประถมศึกษาจนถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา เช่น การใช้ภาษาไทยไม่ถูกกาลเทศะ ดังเช่นการใช้ภาษาทางการและภาษาไม่ทางการ นอกจากนี้ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่สามารถสื่อสารกับบุคคลได้ทั่วโลก หรือการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้คนไทยได้มีการสื่อสารกับชาวต่างชาติมากขึ้นกว่าในสมัยอดีต นอกจากนี้การที่คนไทยบางส่วนได้ไปศึกษาที่ต่างประเทศ พอเมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ถ่ายทอดความรู้วิชาการให้กับนักศึกษา กลับใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาหลักได้ไม่ถูกต้อง ใช้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศทำให้เยาวชนเกิดความเคยชินและนำมาใช้จนเกิดความสับสนได้ ในปัจจุบันเยาวชนไทยส่วนมากใช้ภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องมากนัก รวมถึงข้าพเจ้า สังเกตจากการใช้ภาษาของเยาวชนที่พบมากในเครือข่ายชุมชนออนไลน์ หรือ เว็บบอร์ด การสนทนาออนไลน์ รวมทั้งที่นิยมเป็นอย่างมากอย่างเฟซบุ๊ก เยาวชนมีการใช้คำที่แปลกมากขึ้น มีลักษณะง่ายต่อการพิมพ์และเลียนแบบเสียงตามอารมณ์ความรู้สึก จนทำให้บางครั้งรู้สึกว่าคำศัพท์บางคำเขียนถูกต้อง จนทำให้ใช้คำนั้นจนเคยชิน อย่างเช่นคำว่า “มั้ย” ใช้ในประโยคคำถามแต่ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า “ไหม” ถึงจะถูกตามหลักภาษาไทย จากสื่อสังคมออนไลน์หลายอย่างทำให้เยาวชนซึมซับการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องและเกิดคำศัพท์ใหม่มากขึ้นที่เรียกว่า “ศัพท์วัยรุ่น” ซึ่งคล้ายคลึงกับคำศัพท์แสลงของภาษาอังกฤษ
    ภาษาทุกภาษาในโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่แตกต่างกันตรงที่บางภาษาอย่างให้ความสำคัญ อนุรักษ์ภาษาของชาติ ให้ความสำคัญกับภาษาของตนและภูมิใจที่จะใช้ภาษาอย่างภาคภูมิใจ ต่างจากประเทศไทยเราที่ละเลยความสำคัญในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์ภาษาไทยให้สวยงาม และการปลูกฝังความภูมิใจในภาษาไทย ถึงแม้ชาติไทยเราจะไม่เคยเป็นประเทศราชทางการเมืองของชาติใด แต่หากคนรุ่นใหม่ยังไม่สนใจในภาษาของชาติตน ในไม่ช้า ประเทศไทยเราอาจจะเป็นประเทศราชทางภาษาของชาติอื่นก็เป็นได้ หากคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับภาษาไทยมากยิ่งขึ้น

  17. gittipan doung ta 540210167 on said:

    ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากในการสื่อสารของคนไทย ภาษาไทยนั้นถือเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย บ่งบอกถึงวัฒนธรรม จารีต ประเพณี อัตลักษณ์ของความเป็นไทยเอง ทั้งอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือแม้กระทั่งการอ่านเองเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารของคนไทยเอง ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงยุคปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัยแต่คนไทยนั้นใช้ภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่ เพราะ ส่วนมากจะมีส่วนช่วยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงทำให้เกิดการที่จะเปลี่ยนแปลง หรือผิดเพี้ยนตามยุคสมัยเช่น การกร่อนเสียง ตัวอย่างเช่น มะม่วง – หมากม่วง มะตูม – หมากตูม
    การกลืนเสียง ตัวอย่าง เช่น อย่างไร-อย่างไง อย่างนั้น-อย่างงั้น ดิฉัน-เดี๊ยน เป็นต้น
    ด้วยเหตุนี้เองภาษาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือผิดเพี้ยนไปเกิดจากการสื่อสารที่ผิดไป และเหตุที่สำคัญที่ทำภาษาเปลี่ยนไปคือตัวของคนในสังคมเอง เยาวชนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาษาเสียหายเกิดจากการใช้ภาษาที่โลดโผนชอบสร้างสรรค์คำใหม่ๆๆที่ผิดไปจากคำเดิม เช่นภาษาที่ใช้ในสังคมออนไลน์เอง อาทิ อินเตอร์เน็ต เอ็มเอสเอ็ม เฟซบุ๊ค เป็นต้น ที่ทำให้ภาษาเกิดความเสียหายหรือเรียกทางวิชาการว่า ภาษาวิบัตินั้นเอง แต่ถ้าหากมองในมุมกลับกันแล้วคนบางคนอาจมาว่าภาษาไม่ได้วิบัติแต่ภาษาเกิดการพัฒนาของมันเองตามยุค
    การพัฒนาของภาษานั้นเป็นการใช้รูปเสียงที่ผิดเพี้ยนไปก็จริงแต่ยังคงความหมายเดิมไว้
    ลักษณ์ดังกล่าวนี้อาจถือว่าไม่ผิดเพราะเป็นการพัฒนานั้นเอง

  18. Supalak Paiboonsin 521510229 on said:

    ปัญหาและแนวทางการแก้ไขภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านเกิดปัญหามากมายขึ้นด้วยอิทธิพลจากหลายสิ่ง ทั้งค่านิยมสังคม และวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นภาษาไทยจึงควรได้รับการฟื้นฟูและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องโดยคนไทยทุกคน ทุกคนทราบดีว่าภาษาไทยเป็นสิ่งที่แดงถึงความเป็นไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญยิ่งของชาติไทย จึงมีการสืบทอดเอกลักษณ์นี้เรื่อยมาจนปัจจุบันที่ถือเป็นยุคเปลี่ยนผ่านทางภาษา ยุคเปลี่ยนผ่านทางภาษาคือช่วงเวลาการถ่ายทอดภาษาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆขึ้น อาจเกิดเป็นวิกฤติในยุคเปลี่ยนผ่านได้ เนื่องจากภาษาทุกภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การที่คนรุ่นหนึ่งถ่ายทอดภาษาสู่คนอีกรุ่นหนึ่งนั้นย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้มีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับภาษาจึงเป็นเพราะสื่อสารกันไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เกิดเพราะความเปลี่ยนแปลงทางภาษา สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเป็น “สังคมไม่อ่าน” เนื่องจากคนอ่านน้อยลง คนเขียนน้อยลง คนสนับสนุนน้อยลง อีกยังหนังสือและวรรณคดีไทยที่อ่านเพื่อเสริมสร้างทักษะผู้เรียนที่มีเพียงน้อยนิดนั้นมักกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ไกลตัว ผู้เรียนยุคปัจจุบันไม่คุ้นชินกับป่า หรือสภาพแวดล้อมที่กล่าวไว้ในหนังสือ ส่งผลให้การเรียนนั้นไม่เกิดประสิทธิภาพ แม้ว่าในประเทศไทยจะมีจำนวนสถาบันทางการศึกษามาก จำนวนนักเรียนมาก จำนวนบุคลากรทางการศึกษามาก แต่การเรียนนั้นมีน้อย อีกยังเป็นการเรียนที่เต็มไปด้วยความบกพร่อง ขาดความเอาใจใส่ ความพยายามที่จะสอนและเรียนให้เกิดประสิทธิผล เนื่องด้วยความเชื่อที่ผิดว่าการสอนเป็นงานง่าย ผู้ที่มีความรู้มากกว่าย่อมสามารถสอนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่าได้ จึงไม่เกิดการขวนขวายหาวิธีการสอนและการเรียนให้เกิดการพัฒนา ด้วยเหตุนั้น เด็กไทยจึง “อ่านออก” แต่ไม่ใช่ “อ่านเป็น” ประกอบกับการศึกษาไทยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กในวัยนั้นๆ เด็กเติบโตและเรียนรู้ได้ต่างกัน ดังนั้นการสอนทางภาษาจึงทำได้ค่อนข้างยาก การแก้ปัญหาการถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆรวมถึงด้านภาษาจึงส่งผลให้มีการนำเอา “ระบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” มาใช้ให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพตามศักยภาพผู้เรียนมากขึ้น อีกยังควรปรับปรุงห้องสมุดของสถาบันศึกษาต่างๆให้มีหนังสือมากและหลากหลายประเภท เนื่องจากนักเรียนวัยรุ่นสามารถเรียนจากกิจกรรมได้ดีกว่าการเรียนในห้องเรียน จึงควรมีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางภาษาไทยมากขึ้น เช่น ชุมนุมการอ่าน ชุมนุมวรรณศิลป์ หรือ ค่ายรักการอ่าน เป็นต้น นอกจากนี้ควรสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาทางภาษาด้วยรางวัลจากการประกวดแข่งขันเช่น การประกวดการพูด แข่งขันการเขียนเรียงความ หรือ ทดสอบการฟังจับใจความ เป็นต้น ฉะนั้นคนไทยทุกคนจึงเป็นพลังสำคัญในการฟื้นฟูและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาษาไทยในยุคเปลี่ยน ให้ดำรงไว้ซึ่งภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาติไทย

  19. Thamonwan Orathai 531510084 on said:

    ภาษา คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความกัน ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปกับกาลเวลา คนรุ่นหนึงกับคนอีกรุ่นหนึงจะใช้ภาษาผิดเพี้ยนกัน ความเสียหายเกิดจาก การสื่อสารระหว่างกันไม่ดี ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ การใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การใช้คำพูดกำกวม ทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร เด็กนักเรียนปัจจุบันชอบสร้างสรรค์ถ้อยคำใหม่ๆขึ้น และอีกประการหนึ่ง คือ สำนวนโฆษณาในปัจจุบันที่นักโฆษณาใช้ถ้อยคำเพื่อให้กระทบกระเทือนความรู้สึก จนเราเคยชินกับถ้อยคำในการโฆษณา ก็จะเปลี่ยนไปหาถ้อยคำใหม่จนเราลืมถ้อยคำที่เคยใช้แต่คำโฆษณานี้ไม่มีอะน่าวิตก เพราะสังคมปัจจุบันต้องเผชิญกับถ้อยคำโฆษณานี้อยู่แล้ว ถ้อยคำสำนวนไหนกะทัดรัดคมขำก็จะมีคนจำนวนมากนำมาใช้สำหรับการสนทนา เช่น อุบาย(ลูกไม้) เชย(ไม่เหมาะกับเหตุการณ์) เป็นต้น ในภาษาไทยเรานิยมออกเสียงวรรณยุกต์แนบกับเสียงสระ เมื่อมีคำต่างประเทศที่ไม่มีวรรณยุกต์ประจำติดอยู่ในพยางค์ เราก็จะใส่เสียงวรรณยุกต์ให้เหมาะกับความรู้สึก จนไม่รู้ตัวว่าที่ใช้อยู่นั้นเป็นคำภาษาต่างประเทศหรือจะเรียกว่าคำทับศัพท์ เหล่านี้ทำให้ภาษาไทยของเราที่ใช้กันเริ่มเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน คนในสมัยก่อนยึดหลักเกณฑ์ภาษาที่ตนใช้นั้นถูกต้องแล้ว เมื่อเจอภาษาใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นแล้วคิดว่าภาษานั้นผิด แต่แท้จริงแล้วภาษาใหม่ที่พัฒนาขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เพียงแต่ปรับแต่งให้ดูดีขึ้นเท่านั้น ครูอาจารย์ควรให้ความเอาใจใส่และพยายามค้นหาวิธีสอน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและสภาพของภาษา ตั้งแต่อดีตการสอนหนังสือสอนเพียงแค่ให้อ่านออก ไม่ได้สอนให้อ่านเป็นคิดเป็น ควรให้ผู้เรียนรู้จักหาวิธีเรียนให้ตนเองเกิดความชำนาญมากที่สุด การสอนภาษาจึงควรได้รับความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อที่นักเรียนจะได้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษา เหล่าอาจารย์ส่วนใหญ่ควรสอนภาษาไทยได้ทุกคน โดยได้รับการฝึกอบรมในการถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยที่ดีมาก่อน เพื่อนักเรียนและนักศึกษาจะได้เข้าใจในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะ เพื่อรักษาภาษาไทยให้คงอยู่ตลอดไป

  20. Tunnachai Meeorn 532110036 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษา ไม่ว่าเราจะพูดถึงภาษาอะไรก็ตามการใช้ภาษานั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามกาลเวลา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ รวมถึงภาษาไทยของเราก็ตามที ภาษาไทยของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงภาษาไปมากจากอดีต จนถึงปัจจุบัน และรวมถึงอนาคตเช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปของภาษานั้นตามความคิดของผมแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่แย่นัก เพราะภาษาที่เปลี่ยนไปก็ยังคงมีรากฐานมาจากภาษาไทยในอดีตดั่งเดิม มากกว่านั้นการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่ใช้กันนั้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์มากกว่าในสมัยก่อนเพียงแค่มีการปรับแต่งให้ตึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็นมากขึ้นแค่นั้นเอง ในส่วนของการเรียนการสอนภาษาไทยในอดีต หากเรายังนำการเรียนการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้สอนตามหนังสือที่ออกมาให้เรียนกันตามชั้นปีอยู่นั้นการเรียนการเรียนการสอนของไทยก็จะไม่ได้รับพัฒนาขึ้นเพราะการสอนเพียงความรู้ในหนังสือที่กำหนดมานั้น ในด้านของการเรียนภาษาไทยแค่หนังสือเพียงหนึ่งเล่ม ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ภาษาแน่นอน เพราะการสอนภาษานั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ขึ้นกับลักษณะและสภาพของสังคม กับพัฒนาการเชิงสังคมของผู้สอนและผู้เรียน การสอนที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จะส่งผลเสียออกมาได้ง่ายกว่าวิชาอื่น เพราะภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต หากภาษาไร้ประสิทธิภาพ ชีวิตเราก็ไร้ประสิทธิภาพเช่นกัน อีกปัญหาใหญ่ในการสอนภาษาไทยอีกอย่างคือ ความเอาใจใส่ในการปรับปรุงมีน้อยทั้งการประชุมวิชาการที่จะนำไปสู่การปรับปรุงที่มีมากน้อยครั้งเมื่อเทียบกับวิชาอื่น อีกทั้งการช่วยช่วยเหลือให้ครูอาจารย์ไทย มีความคิดกว้างไกลขึ้น เช่น การศึกษาไปดูงานต่างประเทศมีบ้างหรือไม่ มีทุนการศึกษาในมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ที่เรียนวิชาภาษาไทยบ้างหรือไม่ เป็นต้น การสอนภาษาไทยในโรงเรียนนั้น นักเรียนเรียนจากครูและจากหนังสือเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษาที่เราใช้ในปัจจุบันนั้นมาจากสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่มาจากหนังสือเรียนเป็นหลัก เพราะฉะนั้น ครูผู้เป็นผู้สอนจะต้องเอาใจใส่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเตรียมการสอนที่ดี สามารถตามทันปัจจุบันได้ เช่น สังเกตการณ์ใช้ภาษาทางวิทยุ โทรทัศน์ และตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือที่นักเรียนได้อ่าน เป็นต้น การสอนภาษาของตนเองนั้นมีความยากอยู่ในตัวข้อหนึ่งคือ นักเรียนไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียน จึงทำให้รู้สึกเบื่อ ไม่อยากจะเรียน ครูที่สอนภาษาไทยจะต้องมีกลวิธีที่แยบยลในการสอนยิ่งกว่าวิชาอื่น แต่ตรงกันข้าม ในโรงเรียนไทยการอบรมครูในการสอนภาษาไทยจะมีน้อยที่สุด วิธีที่จะทำการสอนให้ดีขึ้นนั้น จะต้องแก้ไขความผิดพลาด ต่างๆ ให้น้อยลง แต่จะต้องค่อยๆทำไปทีละน้อย ทำความเข้าใจว่าทำการสอนภาษาเพื่อสื่อสาร จะต้องทำอย่างไร ต้องมีการวิจัยว่าการที่ภาษาปัจจุบัน หรือภาษาที่มนุษย์ใช้เป็นพาหะสื่อสรทุกวันนี้ ไม่มีไวยากรณ์เป็นหลักฐานนั้นไม่ใช่เรื่องที่เราต้องน้อยใจ พูดอย่างไรจึงจะแจ่มแจ้ง เขียนอย่างไรถึงจะเข้าใจกน ควรสอนการอ่านหนังสือ และส่งเสริมการเขียนการแต่งให้ได้ใช้ทุกระดับ

  21. Thaksaporn Srisuwan 541510086 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับผู้เขียนที่ว่าประเทศไทยโชคดีที่มีภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ คนไทยใช้ภาษาไทยในการสื่อสารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภาษาไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติของภาษา โดยภาษาจะเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคมไทยในยุคนั้น ค่านิยมนี้เองให้เกิดศัพท์ใหม่ และคำพูดที่วัยรุ่นนิยมใช้กันหรือที่นักวิชาการหลายท่านเรียกว่า “ภาษาวิบัติ” ซึ่งอาจจะทำให้คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่สื่อสารกันได้ไม่ดี ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ การใช้คำพูดกำกวม คนฟังหรืออ่านเข้าใจไม่แน่ชัด เช่น คนรุ่นใหม่อ่านวรรณกรรมของคนรุ่นเก่าแล้วไม่เข้าใจ เพราะสำนวนภาษาและศัพท์ที่ใช้มีความแตกต่างกันมาก วรรณกรรมเหล่านั้นจึงค่อยๆสูญหายไปตามกาลเวลา การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเพิ่มความรู้ให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความเข้าใจภาษาไทยอย่างแท้จริง สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง แต่ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาไทยไม่ได้มีการพัฒนาไปจากอดีตมากนัก เรายังขาดอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการสอนภาษาคือหนังสือ แบบฝึกหัด และอุปกรณ์การสอนเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนไม่สามารถจินตนาการถึงสิ่งที่กล่าวถึงที่อยู่ไกลตัวในหนังสือได้ เช่น ราชรถ เครื่องม้า และเครื่องช้างเป็นต้น ครูที่โรงเรียนมักอ่านหนังสือพร้อมตีความและสรุปให้นักเรียนฟังทุกครั้ง จนนักเรียนติดครู ถ้าไกลครูนักเรียนก็จะไม่สามารถหาความรู้เองได้ ประเทศไทยมีวิธีการสอนแบบนี้มานาน ทำให้นักเรียนไทยขาดความรู้ ความคิด และไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ความบกพร่องที่สำคัญในการเรียนการสอนภาษาไทยอีกประการหนึ่งก็คือ การขาดความเอาใจใส่และความพยายามในการจะค้นหาวิธีการสอนที่ได้ผล ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงครูอาจารย์ที่ทำการสอนร่วมกัน ข้าพเจ้ามีความเห็นตรงกับผู้เขียนที่ว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาไทยกันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง” โดยครูอาจารย์ควรทราบว่าควรสอนนักเรียนในลักษณะไหน นักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาควรมีวิธีการสอนที่ต่างกัน อีกทั้งยังต้องดูสภาพแวดล้อมของนักเรียนด้วย ครูควรมีความเอาใจใส่และปรับปรุงการสอนของตนให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ และต้องเข้าใจธรรมชาติของภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูจะต้องปลูกฝังให้นักเรียนเห็นถึงคุณค่าและความจำเป็นที่จะต้องเรียนวิชาภาษาไทย เพราะการจะสอนให้ได้สัมฤทธิ์ผลนั้น ผู้เรียนจะต้องมีความเต็มใจ และให้ความร่วมมือในการเรียน ทั้งครูและนักเรียนต้องให้ความสนใจกับวิชาภาษาไทยมากขึ้น เพื่อให้ภาษาไทยคงอยู่อย่างสวยงาม และเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติไทยตลอดไปทุกยุคทุกสมัย

  22. Tanakit Saelee 532110040 on said:

    “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน” เป็นหัวข้อที่ต้องการเตือนถึงการให้ความสำคัญในภาษาที่ใช้อย่างถูกต้อง เพราะภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น แสดงถึงการดำรงอยู่ในเอกราชและความเข้มแข็งของประเทศ ในประเทศบางประเทศที่สูญเสียเอกราชตกเป็นเมืองขึ้นแก่ประเทศอื่น ภาษาประจำชาติของประเทศนั้นไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นแต่เป็นภาษาของประเทศที่รุกราน เมื่อเขาได้อิสรภาพ เขาจึงต้องทำนุบำรุงสร้างภาษาของชาติกลับมา เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชในชาติ และไม่เพียงแต่ทำนุบำรุงแต่ต้องปลูกฝังความรักในภาษาตนเข้าไปให้เกิดความหวงแหนในภาษาของชาติและรู้สึกถึงความยากลำบากในการสร้างชาติ แต่ประเทศไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใคร มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติมาโดยตลอด ไม่ได้สู้รบแย่งชิงในการสร้างภาษา เมื่อเราไม่ได้สู้รบแช่งยิงจากใคร สิ่งที่ได้มามักถูกมองว่าเป็นของหาง่าย ไม่ถนอมและทำนุบำรุง เกิดจากการที่เราไม่เคยถูกปลูกฝังความรักและหวงแหนในภาษา ไม่เคยต้องยากลำบากในการได้ภาษาประจำชาติของเรามา เราจึงไม่เห็นคุณค่าและไม่ได้รู้สึกว่าสำคัญ ยิ่งกว่านั้นเมื่อเวลาได้ผ่านมายาวนานโดยไม่ได้ปลูกฝังการรักภาษาในจิตใจจึงทำให้ภาษาเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่ทราบว่าแบบใดคือภาษาเดิม ส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องในการศึกษาของไทยที่ไม่ได้ปลูกฝังความภูมิใจในภาษาของตนและขาดความเอาใจใส่ในวิธีการสอน โดยเฉพาะหนังสือเรียนที่ไม่ค่อยมีการพัฒนาและไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน การสอนที่ใช้ระบบขู่เข็ญให้ท่องจำไม่สามารถทำให้นักเรียนมีความรักได้และไม่เข้าใจถึงเจตนาที่แท้จริง แต่การทำให้นักเรียนพึงพอใจที่จะทำและรับรู้เจตนาที่แท้จริงนั้นมีประโยชน์มากกว่าหลายเท่า ที่สำคัญบุคคลากรในด้านภาษาไทยต้องสามารถอบรมนักเรียนให้รู้จักความหวงแหนในภาษาและปลูกฝังการรักภาษา คนไทยทุกคนต้องร่วมมือแก้ไขปรับปรุงและปลูกฝังความรักและหวงแหนในภาษาไม่ใช่เพียงแต่ครูและอาจารย์ เพราะภาษาคือชีวิตของชาติ แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของชาติ นำไปสู่การพัฒนาของชาติต่อไป

  23. ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ การเปลี่ยนผ่านทางภาษา จึงเป็นสิ่งที่สังคมไทยควรตระหนักถึงประโยชน์ และโทษของการเปลี่ยนผ่าน โดยก้าวพ้นการตำหนิเฉพาะครูสอนภาษาไทย หรือหลักสูตรภาษาไทย เนื่องจากเป็นความจริงที่ว่า ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนผ่านในทุกยุคทุกสมัย แสดงให้เห็นพลวัตรของภาษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามจารีต ค่านิยม และช่วงสถานการณ์ของสังคมไทยในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดของคำใหม่ อาทิ คำว่า สุ่มเสี่ยง เป็นคำที่นำมาผสมกัน ความหมายคล้ายคำเดิม หมายถึง การระบุถึงพื้นที่ที่เห็นว่ามีอันตราย แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน คำว่า โคโยตี้ เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น หมายถึง บุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยการร้องรำทำเพลงทำนองเร้าใจในแนวเย้ายวนกามารมณ์ และคำว่า อย่างงี้ เป็นคำที่เกิดจากการเปลี่ยนเสียงมาจากคำว่า อย่างนี้ เป็นต้น อีกทั้งบางคำในภาษาไทยได้หายไปตามยุคสมัย ซึ่งสังเกตได้ด้วยตัวเองจากการเปิดพจนานุกรมแล้วเจอคำที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ยกตัวอย่างคำว่า ทอดน่อง หมายถึง อาการที่เดินช้า ๆ ตามสบาย นอกจากการเปลี่ยนแปลงของคำแล้ว การใช้ภาษาไทย ยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านหลักของภาษา ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการคิด การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กล่าวคือ กระบวนการใช้ทักษะเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้หลักของภาษาที่ถูกต้องแม่นยำเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่โดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้การแยกแยะหลักภาษาระดับปาก ระดับกึ่งทางการ และระดับทางการ เกิดความคลุมเครือในการใช้งาน ยกตัวอย่าง หลักการใช้คำราชาศัพท์ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทางการเมืองที่ผ่านมา ทำให้การกล่าวถึงพระบรมวงศานุวงศ์ มีความคลุมเครือในการแยกแยะระดับของภาษา 3 ระดับข้างต้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยดังที่กล่าวมา หากพิจารณาในในยุคปัจจุบัน ซึ่งเรียกได้ว่า ยุคเปลี่ยนผ่านไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาเพื่อการใช้งานในกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะเยาวชน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลตามมาไม่ว่าจะเป็นด้านคุณประโยชน์ ทำให้ภาษามีความกระจ่าง สะดวก และง่ายต่อความเข้าใจร่วมกัน ในด้านโทษ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างล้นเกิน จนสิ่งที่ดีงามของขนบธรรมเนียมทางภาษาถูกลบลืมไป ยิ่งไปกว่านั้น ยังนำไปสู่การด้อยศักยภาพในการสื่อสาร และการใช้งานร่วมกับต่างประเทศ จากที่กล่าวมานี้ เมื่อทุกยุคทุกสมัยมีการเปลี่ยนผ่านทางภาษา จึงไม่ต้องมุ่งตำหนิไปที่หลักสูตรภาษาไทย หรือครูภาษาไทย เพราะเป็นสิ่งที่สังคมต้องตระหนักรู้ และแก้ไขร่วมกัน

  24. Nutnaree Harnjai 512110033 section 009 on said:

    เขียนแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”
    วัฒนธรรมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชียและยุโรปกำลังเข้ามามีอิทธิพลกับประเทศไทยอย่างรวดเร็วและมากขึ้นเรื่อยๆ ภาษาไทยในปัจจุบันจึงมีความสำคัญกับสังคมไทยน้อยลงมากเมื่อเทียบกับในอดีต จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง “ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม” ซึ่งเป็นงานเขียนของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล.บุญเหลือ เทพสุวรรณ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับเนื้อความที่ว่า “สังคมไทยกำลังเปลี่ยนจากสังคมที่มีวัฒนธรรมของตนเอง ไปเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมพัวพันกับวัฒนธรรมต่างๆในโลกโดยที่สมาชิกในสังคมไม่รู้ตัวและไม่เข้าใจ” เพราะเด็กและเยาวชนไทยจำนวนมากมีการใช้ภาษาไทยปะปนกับภาษาต่างประเทศ อีกทั้งบางคนยังให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศมากกว่าภาษาไทย จึงทำให้ภาษาไทยถูกนำไปใช้อย่างผิดๆและถูกลดความสำคัญลงจนกระทั่งเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การใช้ภาษาวิบัติ การใช้ภาษาโดยไม่คำนึงความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ เป็นต้น นอกจากอิทธิพลจากต่างประเทศที่เข้ามามีผลกับการใช้ภาษาไทยแล้ว การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยไม่ได้รับการให้ความสำคัญจากเด็กและเยาวชนไทยเท่าที่ควร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยในอนาคตได้อีกด้วย เนื่องจากภาษาคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ความหมาย เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไปยังทุกศาสตร์และทุกสาขาวิชา แต่ปัจจุบันเด็กไทยส่วนใหญ่ที่เรียนจบชั้นประถมศึกษายังอ่านภาษาไทยไม่คล่องและสะกดคำไม่แม่น จึงสื่อสารความหมายที่ลึกซึ้งไม่ได้ ส่งผลให้สมองขาดฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการคิด เชื่อมโยงและต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ศาสตร์อื่นได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไทยอ่อนแอด้านภาษา คือ กระบวนการสอนของพ่อแม่และครูในปัจจุบัน ที่ยังไม่สอดรับกับธรรมชาติการรับรู้ในระบบสมองของมนุษย์ คือเน้นการท่องจำมากกว่าความเข้าใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นการเรียนภาษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจในวิชาอื่น คนทั่วไปไม่ค่อยทราบความสำคัญของภาษาตรงนี้ จึงละเลยและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนวิชาภาษาไทยและมุ่งไปที่การเรียนวิชาอื่นเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามหากจะกล่าวว่าการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย มีส่วนทำให้เด็กและเยาวชนไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยหรือใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องแค่นั้นคงไม่ได้ เพราะอิทธิพลจากต่างประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับภาษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  25. ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    คือภาษาไทยที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงของยุคก่อนกับยุคปัจจุบัน ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ เป็นภาษาประจำชาติไทยที่ทุกประเทศรู้จัก ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้คนไทยมีการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ มีปัจจัยที่ทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปที่เห็นได้ มาจากหลายสาเหตุ ประการที่หนึ่งการรับเอาเทคโนโลยีวิทยาการต่างๆเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ และระบบอินเทอร์เนต เป็นต้น ทำให้เกิดการนำคำจากภาษาที่ใช้ประกอบการใช้เครื่องมือต่างๆมาใช้อาทิ ดิจิตอล มอนิเตอร์ เทอมอมิเตอร์ ประการที่สองการเรียนการสอนในโรงเรียน เมื่อยุคสมัยความเจริญเข้ามาทำให้ การปรับตัวของเด็กนักเรียนไทยที่จะต้องมีการเรียนเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนเรียนแค่วิชาภาษาไทย แต่ปัจจุบันในโรงเรียนมีการเพิ่มวิชาเรียนที่มากขึ้นเช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาอังกฤษเป็นต้น ทำให้วิชาภาไทยมีเวลาเรียนที่น้อยลงทำให้เรียนแล้วไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของภาษา ประกอบกับการเรียนในปัจจุบันได้มีการตีพิมหนังสือแบ่งออกเป็นแต่ละชั้นทำให้นักเรียนถูกจำกัดขอบเขตของความคิด ทำให้การศึกษาภาษาไทยไม่ใช่ศึกษาเพื่อเอาไปใช้แต่เป็นการศึกษาเพื่อที่จะเอาไปสอบ เมื่อสอบเสร็จแล้วก็ไม่ได้สนใจที่จะศึกษาต่อ ประการที่สาม ปัจจุบันระบบการขนส่งและการสื่อสารสามารถทำได้ง่าน มีความสะดวกรวดเร็ว สามารถที่จะเดินทางไปยังประเทศต่างได้เช่นการไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ การเดินทางท่องเที่ยวและการไปทำธุรกิจเป็นต้น ทำให้เกิดการรับรู้วัฒนธรรมภาจากต่างถิ่นเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นตะวันตก หรือ ตะวันออกก็ตาม ทำให้การใช้ภาษาไทยมีน้อยลงผนวกกับการใช้คำผสมกัน ประการที่สี่ ภาษาวัยรุ่นที่เกิดจากความมักง่ายเกินไป จากความเกียจคร้านที่จะพุดเยอะหรือคำที่เป็นคำหยาบเช่น คิง ฮา กวนตีนและวอนเท้าเป็นต้น ปัจจุบันมีคำศัพท์ที่วัยรุ่นใช้มักมีส่วนมาจากการนักพูดดังๆๆจากที่เห็นได้แก่ โน้ตอุดม แต้มพานิชย์ ในการแสดงแต่ละครั้งก็จะมีคำใหม่ๆออกมาครั้งล่าสุด คำว่าเซาะกราว ที่แปลว่าบ้านนอก ประการที่ห้าค่านิยมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ไปนิยมของชาติตะวันตก เกาหลี ญี่ปุ่น ในเรื่องของละคร หนัง เพลง ทำให้เกิดการนำคำที่ได้ฟังนั้นมาพูดทำให้ภาษาไทยมีการใช้น้อยลง ในชีวิตประจำวัน ดังจะเห็นได้จากเพลงที่ดังๆๆ ส่วนมากมักจะมีคำที่เป็นภาต่างประเทศปนอยู่ ประการที่หกขาดการปลุกจิตสำนึกให้รักภาษา ให้มีการเรียนรู้เรื่องของวรรณกรรม วรรณคดีต่างๆที่เป็นสมบัติของชาติ ไทยเรานั้นมีวรรณคดีที่สนุกสนาน มีนิทานที่อ่านแล้วสนุกมากมาย แต่ในปัจจุบันสมบัติเหล่านี้ได้จางหายไปที่ละเล็กทีละน้อย ดังนั้นเราควรที่จะหันกลับมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเริ่มจากตัวเองก่อน ไม่ใช้ภาษาไทยในทางที่ผิด ที่จะทำให้ภาษาไทยเกิดความเสียหาย ควรที่จะปลูกฝังให้เยาวชนคนรุ่นหลังให้รู้และช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ในยุคต่อไป เชื่อว่ายังไม่สายเกินไปที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหานี้

    [

  26. noppadon soontornsaratoon 522110242 sec.007 on said:

    “ภาษา” เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ รูปแบบของภาษามีมากมายหลายรูปแบบ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย เป็นต้น ภาษาไม่ใช่กฎที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ภาษาก็เหมือนกับมนุษย์ที่มีการพัฒนาการปรับตัวทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ยิ่งมนุษย์พัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ภาษาก็ยิ่งพัฒนาขึ้นตามและด้วยการพัฒนาที่รวดเร็วทำให้บางสิ่งบางอย่างนั้นถูกถอดถอน ถูกลดความสำคัญ ซึ่งในทางภาษานั้นคือการรวมคำ การตัดคำ การละทิ้งคำ เหตุเหล่านี้ทำให้ผลที่ตามคือ ความวิบัติทางภาษานั้นเอง

    ปัจจุบันเมื่อข้อมูลสารสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
    ไม่ต้องกล่าวข้อความใดๆต่อจากนี้เพราะแค่คำว่ารวดเร็ว เราก็เข้าใจแล้วถึงการเปลี่ยนแปลงภาษาก็เช่นกันเมื่อเจอกับความรวดเร็วมันย่อมต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่ามีการนำภาษาต่างประเทศเข้ามารวมกับภาษาไทย บางครั้งก็พูดทับศัพท์กัน เช่น เฟซบุ๊ค ไฮไฟว์ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการตัดคำ เช่น สวัสดี กลายเป็น หวัดดี ซุปเปอร์สตาร์ เป็น ซุปตาร์ อิทธิพลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เลวร้ายลงคงไม่พ้นเหล่า ดารานักแสดงที่ปัจจุบันคำพูดของพวกเขาเหล่านั้นผลกับเราโดยตรง

    ภาษาสุดท้ายย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ว่าจะเปลี่ยนแปลงมันไปในทิศทางไหน จะเปลี่ยนให้เพื่อรักษามันต่อไป หรือจะเปลี่ยนเพื่อให้คนรุ่นต่อไปโหยหาภาษาที่สวยงาม ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เราเป็นผู้กำหนด

  27. Theaptithut Kheawkham 540510652 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    สังคมไทยในปัจจุบันนับว่ามีการพัฒนาไปมากกว่าเดิมมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกอย่าง เปลี่ยนจากสังคมโบราณมาเป็นสังคมสมัยใหม่ เปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมพาณิชย์และกำลังก้าวหน้าไปสู่สังคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงด้านของการใช้ภาษา เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ประเทศไทยนั้นถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่เคยเสียเอกราชให้ชาติใดดังนั้นภาษาประจำชาติของเราจึงเป็นภาษาไทยดังนั้นเราควรช่วยกันใช้ภาษาไทยให้ถูกเพื่อความภาคภูมิใจของชาติเรา แต่ในยุคปัจจุบันการใช้ภาษาไทยไม่ค่อยได้รับความสนใจมีการใช้ภาษาทั้งถูกและผิดปะปนกันไปซึ่งผลกระทบประการหนึ่งคือการได้รับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกคนไทยส่วนใหญ่พอพูดเป็นก็ไม่มีใครสนใจว่าคำพูดของตนนั้นถูกต้องตาม หลักไวยากรณ์หรือไม่ เนื่องจากวิชาภาษาไทยไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรไม่มีครูท่านใดสอนการใช้ภาษาไทยให้ลึกซึ้งส่วนใหญ่จะสอนให้นักเรียนเพียงแค่สอบผ่าน ตามมาตรฐานที่วางไว้แตกต่างจากครูในยุคก่อนซึ่งในยุคก่อนนั้นจะเข้มงวดเรื่องการใช้ภาษาไทยมากเพราะผู้สอนคือพระภิกษุและครูในนยุคก่อนจะเข้าใจสภาพสังคมความเป็นไทยมากกว่าครูในยุคนี้ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการสอนเรื่องวรรณกรรมไทยครูสมัยนี้จะไม่ค่อยสนใจในรายละเอียดเพราะว่าครุผู้สอนก็ไม่เคยเห็นสภาพสังคมจริงเหมือนในวรรณกรรมซึ่งต่างจากครูสมัยก่อนที่ได้เห็นสภาพสังคมความเป็นอยู่การใช้ชีวิตของคนในสมัยนั้นทำให้ครูสมัยเก่ากล้าที่จะสอนให้ลึกซึ้งและถ่องแท้ เราจะโทษครูก็ไม่เห็นจะถูกเป็นเสียหมดส่วนหนึ่งก็มาจากตัวผู้เรียนซึ่งผู้เรียนในปัจจุบันไม่รู้แน่ชัดว่าเรียนภาษาไทยไปทำไม ไม่เข้าใจธรรมชาติของภาษา ไม่รู้ว่าภาษาไทยอาศัยลักษณะไหนของภาษาเป็นสัญญาณการสื่อสารซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือปัญหาของผู้เรียนในสมัยนี้ซึ่งถ้าเราเป็นครูผู้สอนเราต้องถูกสอนมาให้เข้าใจปัญหาเหล่านี้เสียก่อนเราจึงจะมาสอนผู้เรียนในสมัยนี้ได้ ซึ่งในการศึกษาก็ต้องมองย้อนลงไปถึงระดับอนุบาลว่าครูผู้สอนถูกฝึกสอนมาแบบไหนรวมถึง การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันต่างจากสมัยก่อนมากเพราะในสมัยปัจจุบันผู้เรียนจะไปสนใจในภาษาต่างประเทศมากกว่าภาษาไทยมีส่วนเป็นอย่างมากที่ทำให้ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่ถูกลืม เมื่อผู้เรียนสมัยนี้ไปสนใจในภาษาอื่นทำให้เกิดคำศัพท์แปลกๆที่ไม่ได้มีบัญญัติไว้ในภาษาไทยเกิดขึ้นและก็ใช้กันมาแบบผิดๆโดยที่ไม่รู้ว่าที่ถูกต้องเป็นแบบไหนดังนั้นในฐานะที่เราเป็นคนไทยเราควรช่วยกันรักษาภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของเราให้คงอยู่สืบต่อไปภึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปมากเท่าไหร่จะเปลี่ยนจากสังคมโบราณมาเป็นสังคมสมัยใหม่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม เราก็ไม่ควรลืมภาษาไทยของเราและช่วยกันอนุรักษณ์การใชภาษาไทยให้ถูกต้องดั่งคำสอนของ ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เท่านี้ “ภาษาไทยก็มิใช่วิชาที่ถูกลืม” อีกต่อไป

  28. นาย ปัถพงศ์ สุวรรณ์ รหัส ๕๑๐๕๑๐๔๒๐
    วิชา ๐๕๐๑๐๐ ตอนที่ ๐๐๗
    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ในปัจจุบันความสำคัญและการให้ความสนใจในวิชาภาษาไทยมีน้อยลงไปเรื่อยๆตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปรง ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา หรือแม้กระทั่งครูอาจารย์ เป็นต้น ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ จึงได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม ขึ้น โดยหนังสือเล่นนี้มีการจัดพิมพ์ขึ้นทั้งหมด ๔ ครั้งด้วยกัน ในครั้งแรกๆไม่มีการจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย แต่ในเวลาต่อมามีการร้องขอจากครูอาจารย์และผู้คนทั่วไปที่สนใจให้มีการพิมพ์เพื่อจำหน่าย จึงมีการจัดพิมพ์ขึ้นอีก เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของครูอาจารย์ภาษาไทยและผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาและมีไว้เป็นสมบัติส่วนตัว และเพื่อให้เกิดผลดีแก่ภาษาไทยอันเป็นสมบัติมีค่ายิ่งสำหรับประชาชาติไทยต่อไป ในยุคปัจจุบันผู้คนในประเทศได้ให้ความสำคัญต่อภาษาไทยน้อยมาก โดยส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่า พวกเขารู้และเข้าใจในภาษาไทยดีแล้ว เพราะได้ใช้ภาษาไทยตั้งแต่ตื่นนอน จึงทำให้ไม่ค่อยสนใจในภาษาไทยที่ถูกต้องและไม่มีการศึกษาภาษาไทยอย่างกระจ่าง สืบเนื่องไปจนถึงนักเรียน นักศึกษา ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจในวิชาภาษาไทย เนื่องจากแนวคิดและความคิดดังกล่าว และพวกเขาไม่มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายในการเรียนวิชาภาษาไทย เป็นเพราะว่าครูอาจารย์ขาดแคลนวัสดุและอุปกรณ์ในการสอนภาษาไทย และไม่มีการส้รางและการชักจูงใจให้นักเรียน นักศึกษา เกิดกระบวนการคิด จึงทำให้ไม่เกิดความเข้าใจในภาษาไทย ในสมัยนี้ผู้คนได้นำเอาภาษาจากต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ มาผสมหรือมาพูดรวมกันในประโยคเดียวกับภาษาไทยทำให้เกิดศัพท์ใหม่ๆ และทำให้เกิดการผิดเพี้ยนและการใช้ภาษาไทยที่ผิดไป ในปัจจุบันนี้ได้เกิดศัพท์ใหม่ๆขึ้นมากมายเป็นศัพท์ของวัยรุ่นยุคใหม่ เช่น เฟี้ยวเงาะ นะเว้ยเฮ้ย เซ็งเป็ด จ๊าฟ ฟุบุ๊ ฟุบุ๊ เป็นต้น ทุกวันนี้ภาษาไทยได้ถูกนำไปใช้ในการสื่อสารกันที่ผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างมาก ถือเป็นยุคของการเสื่อมลงของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านจากยุคที่ภาษาไทยถูกให้ความสำคัญและมีการพัฒนาในทางอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู้ยุคของการรวมเผ่าพันธุ์เข้ากับภาษาไทยวัยรุ่นกลายเป็นภาษาไทยที่ใช้กันผิดๆอย่างทุกวันนี้

  29. Tanapon Yoopeng 532110042 Section.009 on said:

    แสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”

    ภาษาไทยถือได้ว่าเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารเป็นหลัก และภาษาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ผู้ใช้ภาษากลับมีพัฒนาการช้ากว่าภาษา ทั้งทักษะการพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งมาจากการเรียนภาษาและการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน คนส่วนมากมักคิดว่า “พูดทุกวัน ไม่รู้จะเรียนให้มากมายไปทำไม” ทำให้การเรียนภาษาไทยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนครูอาจารย์คิดแต่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสอบได้ สอนเพียงเนื้อหาที่มีในหลักสูตรหรือชั้นปีเท่านั้น แต่ไม่ได้สอนการใช้ภาษาที่ถูกต้องและธรรมชาติของตัวภาษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้เกิดกระบวนการคิด การเรียบเรียงของการใช้ภาษา และการถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งเราควรจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการใช้ภาษาไทย และคนส่วนมากยังไม่เข้าใจธรรมชาติของภาษา ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงของภาษาทั้งด้านการพูดและการเขียน จนมีการออกมาคัดค้านในการใช้ภาษาที่ผิดๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการโฆษณาสินค้าต่างๆ ให้ดูน่าสนใจ และสิ่งที่ช่วยพัฒนาความเข้าใจในภาษาคือ การเพิ่มทักษะต่างๆ เกี่ยวกับภาษาให้มีความน่าสนใจและการใช้อย่างถูกต้อง เช่น การจัดพิมพ์หนังสือด้านภาษา การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดทางภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น การคัดเลือกผู้ศึกษาต่อเฉพาะทางด้านภาษา และการปลูกฝังให้ใช้ภาษาในการใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และสามารถพัฒนาได้ง่ายที่สุด ซึ่งในปัจจุบันภาษาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางด้านที่ดี ผู้คนที่เข้าใจธรรมชาติของภาษาสามารถแยกแยะการใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ และด้านการศึกษาได้ส่งเสริมทักษะในด้านการพูด อ่าน และเขียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีพัฒนาการทางด้านลำดับความคิดและทักษะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะถ้าหากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาในด้านภาษา ทำให้การสื่อสารในประจำวันเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีการพัฒนาธรรมชาติของภาษาไทย

    นายธนพล อยู่เป็ง ๕๓๒๑๑๐๐๔๒ ตอนที่ ๙

  30. เด็กไทยยุคใหม่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย การเปลี่ยนแปลงทางภาษานั้นนับเป็นการพัฒนาทางด้านภาษา แต่หากการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ คงเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีแน่ เรามักจะมองว่า ภาษาไทยเป็นเรื่องง่าย ใช้อยู่เป็นประจำ ทำให้การสอนภาษาไทยนั้นถูกลดความสำคัญลงไป ในระดับอุดมศึกษา ไม่มีการบังคับให้เรียนภาษาไทย ทักษะทางภาษาส่วนใหญ่จึงได้มาจากในระดับประถมศึกษา ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน แต่การจัดระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก เด็กแต่ละยุคนั้น มีพัฒนาการรับรู้ที่ไม่เท่ากัน ในอดีตจะต้องรอฟังจากครูสอน แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตมาก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้จากสื่อต่างๆ แต่การศึกษาในปัจจุบัน ผู้ที่สอนยังอยู่ในช่วงที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนา การสอนให้ทันสื่อปัจจุบันนั้นทำได้ยาก ทำให้เด็กยุคใหม่ ได้รับข้อมูลทางภาษาจากสื่อเทคโนโลยี แต่ข้อมูลเหล่านั้น ไม่ได้กลั่นกรองให้ถูกต้อง ทำให้ภาษาของเด็กในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง มีการสร้างคำศัพท์ใหม่ มีการย่อคำ เปลี่ยนตัวอักษร ลดรูปคำ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา ซึ่งคำเหล่านี้ ไม่สามารถใช้ในทางราชการได้ แต่หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ค่านิยมในสังคมก็จะเปลี่ยนตาม การสนทนาระหว่างกลุ่มคน ก็จะใช้คำที่สร้างใหม่กันมากขึ้น จากที่ผิดก็จะเปลี่ยนเป็นถูก การสื่อสารในปัจจุบันนั้นจะเน้นในเรื่องของความเร็ว เพียงแค่เข้าใจกันก็พอ จะเห็นได้ชัดเจนในสื่อออนไลน์ มีการพิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่สื่อความหมายได้ แต่ภาษาที่ใช้นั้นไม่ถูกต้องตามหลักภาษา สื่ออีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สื่อโฆษณา มีการใช้คำที่แปลกออกไป เพื่อทำให้ผู้อ่านมีความสนใจมากขึ้น คำเหล่านี้ก็ไม่ถูกตามหลักภาษาเช่นกัน มีการนำคำจากภาษาพูดมาใช้เป็นภาษาเขียน เด็กยุคใหม่ที่ได้รับสื่อทางนี้ ก็คิดว่า คำเหล่านี้เป็นคำที่ถูกต้อง ใช้ในการเขียนสื่อสารได้ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่ไม่ใช่การพัฒนา จะเป็นในเชิงของการทำลายมากกว่า เนื่องจากไม่มีผู้คอยบอกกล่าว และตักเตือนการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้สอนจะต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เรียนรู้พัฒนาการของเด็กนักเรียน เรียนรู้คำศัพท์จากสื่อออนไลน์มากขึ้น มีการรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามยุคสมัย และมีการความคุมการใช้ภาษาออกสื่อต่างๆอย่างจริงจัง จึงจะสามารถควบคุมภาษาที่กำลังเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ จะเห็นได้ว่า เด็กไทยยุคใหม่นั้นเหมือนเดินหลงทางอยู่ในป่า ไม่รู้ว่าผลไม้ชนิดไหนทานได้หรือทานไม่ได้ ในฐานะผู้รู้ก็ควรจะเขียนป้ายกำกับไว้ เผื่อวันข้างหน้ามีคนที่หลงทางเข้าไปอีก จะได้ไม่ต้องทานผลไม้ที่เป็นอันตรายเหมือนทุกวันนี้

  31. Natthpol Panyatho 540510644 on said:

    ภาษาไทย ในยุคเปลี่ยนผ่าน
    จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือ ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืมนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดเห็นที่สะท้อนจากหนังสือ ว่า ภาษาไทยในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากยุคก่อน โดยเฉพาะการออกเสียง การเขียน และ การใช้ที่ผิดไปจากเดิม ทำให้เด็กไทยในยุคปัจจุบันเข้าใจในการเขียน การสะกดคำ ที่ผิด ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ยกตัวอย่างเช่น กะทัดรัด เขียนเป็น กระทัดรัด ซึ่ง คำที่ถูกคือ กะทัดรัด การอ่านออกเสียง คำควบกล้ำ ล และ ร เช่น คำว่า ราบ กับ ลาบ ที่ผู้ฟังมักฟังไม่เข้าใจตรงกับที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ ดังนั้นควรพูด หรือ อ่านให้ถูกต้อง และการใช้ภาษาไทยกับบุคคลต่างๆ ที่เด็กไทยยังใช้ไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เช่น พูดกับพระสงฆ์นั้น เป็นการพูดที่ใช้ศัพท์ไม่ถูกต้องเหมาะสม ตามศัพท์ของพระสงฆ์ที่ควรใช้ เนื่องจาก สังคมในประเทศไทย รับเอาวัฒนธรรม ของต่างชาติมาด้วย จึงทำให้การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันทำให้ภาษาไทยที่ถูกนั้น ถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ผิด ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า แนวทางแก้ไข ควรเริ่มที่ตัวของครูผู้สอน โดย ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความแตกต่างของภาษาที่ถูกต้องและการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนไป และ ควรปลูกฝังสิ่งที่ถูกให้กับเด็กเพื่อเด็กจะเป็นอนาคตที่ดี ที่ใช้ภาษาไทยถูกต้อง อีกทั้ง สังคมควรมีการเปลี่ยนแปลง หันมาให้ความสำคัญกับภาษาไทยที่ถูกต้อง อย่างจริงจัง เพื่อภาษาไทยที่ถูกต้องจะไม่ลบเลือนไปกับ ยุคสมัย

    • Natthpol Panyatho 540510644 Sec.007 on said:

      ภาษาไทย ในยุคเปลี่ยนผ่าน
      จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือ ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืมนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดเห็นที่สะท้อนจากหนังสือ ว่า ภาษาไทยในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากยุคก่อน โดยเฉพาะการออกเสียง การเขียน และ การใช้ที่ผิดไปจากเดิม ทำให้เด็กไทยในยุคปัจจุบันเข้าใจในการเขียน การสะกดคำ ที่ผิด ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ยกตัวอย่างเช่น กะทัดรัด เขียนเป็น กระทัดรัด ซึ่ง คำที่ถูกคือ กะทัดรัด การอ่านออกเสียง คำควบกล้ำ ล และ ร เช่น คำว่า ราบ กับ ลาบ ที่ผู้ฟังมักฟังไม่เข้าใจตรงกับที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ ดังนั้นควรพูด หรือ อ่านให้ถูกต้อง และการใช้ภาษาไทยกับบุคคลต่างๆ ที่เด็กไทยยังใช้ไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เช่น พูดกับพระสงฆ์นั้น เป็นการพูดที่ใช้ศัพท์ไม่ถูกต้องเหมาะสม ตามศัพท์ของพระสงฆ์ที่ควรใช้ เนื่องจาก สังคมในประเทศไทย รับเอาวัฒนธรรม ของต่างชาติมาด้วย จึงทำให้การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันทำให้ภาษาไทยที่ถูกนั้น ถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ผิด ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า แนวทางแก้ไข ควรเริ่มที่ตัวของครูผู้สอน โดย ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงความแตกต่างของภาษาที่ถูกต้องและการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนไป และ ควรปลูกฝังสิ่งที่ถูกให้กับเด็กเพื่อเด็กจะเป็นอนาคตที่ดี ที่ใช้ภาษาไทยถูกต้อง อีกทั้ง สังคมควรมีการเปลี่ยนแปลง หันมาให้ความสำคัญกับภาษาไทยที่ถูกต้อง อย่างจริงจัง เพื่อภาษาไทยที่ถูกต้องจะไม่ลบเลือนไปกับ ยุคสมัย

  32. Tarapon Pungunta 530510267 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาไทยถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล และภาษาไทยยังเป็นภาษาประจำชาติไทยที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และวิชาภาษาที่คนเราสามารถเรียนจากสิ่งแวดล้อมของตนเอง ทำให้มีการใช้ข้อความที่แตกต่างไปจากเดิม ส่งผลให้ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารแตกต่างจากอดีต ทั้งการพูดและการเขียน เนื่องด้วยมีหลายสาเหตุ เช่น ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องแข่งขันกับเวลา การใช้ภาษาไทยบางครั้งต้องประหยัดเวลาด้วย รวมทั้งการใช้คำแสลงของวัยรุ่น และแม้กระทั่งการนำภาษาถิ่นมาปะปน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถเห็นความแตกต่างได้จากภาษาของภาพยนตร์สมัยเก่าและภาพยนตร์สมัยใหม่ หรือแม้กระทั่งภาษาของผู้อาวุโสพูดกับภาษาที่ผู้มีอายุน้อยกว่าหลายสิบปี หลายคนพูดว่าการใช้ภาษาไทยในลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้ภาษาไทยเกิดความ “วิบัติ” และจะดีกว่าไหมถ้าคนไทยใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องมากกว่าปัจจุบัน ถ้าถามว่า “แล้วคำว่า ถูกต้องของภาษาไทยเป็นยังไง” หนังสือเรื่องภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม เขียนโดยศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้อธิบายไว้ว่า “ การใช้ภาษาของตนเองไม่มีใครจะว่าผิดหรือว่าถูกได้ เพราะจะไม่มีผู้ใดเชื่อฟังผู้ใด ถ้าจะมีการวิจารณ์การใช้ภาษา จำเป็นจะต้องชี้แจงว่ามีความแจ่มแจ้งหรือไม่ ก่อความสับสนหรือไม่ กำกวมเพราะอะไร” นอกจากสาเหตุข้างต้นนั้นแล้ว ยังมีสาเหตุที่มาจากการเรียนและการสอนวิชาภาษาไทยด้วย ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของผู้สอนหรือผู้เรียนเองก็ตาม ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เขียนไว้ว่า “ ปัญหาที่ใหญ่ยิ่งที่สุดของการสอนภาษาไทยคือ ความไม่เข้าใจว่าการสอนภาษานั้นคือสอนอะไร ไม่เข้าใจธรรมชาติของการศึกษา ( ไม่รู้ว่าการสอนภาษาคือการสอนสื่อสาร ) และไม่รู้ว่าภาษาไทยอาศัยลักษณะไหนของภาษาเป็นสัญญาณการสื่อสาร ” จากหลายสาเหตุที่กล่าวมานี้และเวลาที่เปลี่ยนแปลง จึงทำให้การใช้ภาษาเปลี่ยนไปจากอดีต

  33. Vinai Tangmongkhonnam 009 540510821 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างกัน ภาษาใช้ในการบอกเล่าเรื่องต่างๆให้แก่กัน สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นวิทยาการแต่ละแขนงจึงมีความเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา ส่งผลให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมก็เปลี่ยนไป ภาษาที่ใช้กันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ภาษาไทยเองก็ไม่ยกเว้น ภาษาไทยภาษาประจำชาติของไทยเรา ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมไทย ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากก็คือการนำคำของต่างประเทศเข้ามาใช้ ซึ่งทำให้เกิดคำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นมามาก เช่น อินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ก และสไกป์ เป็นต้น ภาษาจึงมีการปรับให้เข้ากับความต้องการในการนำมาใช้ของสภาพสังคมของแต่ละยุคเป็นธรรมดา เมื่อมีสิ่งของใหม่ๆเกิดขึ้นคำใหม่ๆก็จะเกิดขึ้น และเมื่อสิ่งเก่าๆที่ไม่ค่อยได้ใช้หรือไม่ได้ใช้อีกแล้วคำบางคำก็จะถูกกาลเวลาค่อยๆกลืนหาย อย่างบางคำที่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก็ไม่เคยได้ใช้พอนานเข้าก็อาจหลงลืมได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาก็เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝน ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วอ่านออกเขียนได้ในทันที ต้องมีการเรียนการสอนกันก่อน ซึ่งเมื่อพูดถึงการเรียนการสอนก็ตอนเล่ากันถึงสถานบันการศึกษา ในประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองคืนภาษาไทย แต่ประเทศไทยยังมีภาษาถิ่นที่มีการออกเสียงและสำเนียงที่ต่างไปจากภาษาไทยกลาง ซึ่งแต่ละถิ่นต่างก็พูดภาษาถิ่นของตนใช้ภาษาถิ่นของตน แต่จะมีการเรียนการสอนภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาทางราชการกันในสถาศึกษาต่างๆ ในสถาศึกษามีการเรียนการสอนโดยภาษาไทย ดังนั้นภาษาไทยจึงเป็นวิชาที่สำคัญทั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้เพื่อศึกษาหาความรู้ทางวิชาการแขนงอื่น นอกจากการเรียนการสอนในสถาศึกษาแล้ว ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาเป็นอย่างมาก นั้นก็คือสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ โดยเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ง่ายมาก ยิ่งยุคนี้เป็นยุคที่เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร มีเทคโนโลยีสารสนเทศมากมายไว้ใช้ในการเข้าถึงสื่อ ซึ่งสื่อก็มีสำนวนภาษาในแบบของสื่อ การใช้ภาษาก็จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตามสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ทั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงของภาษาก็ไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่นใด หากแต่เป็นการปรับของภาษาที่เป็นเครื่องมือที่ทรงอนุภาพในการสื่อสาร ให้สามารถใช้ได้ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาษายังคงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารต่อไป

  34. Kriangkrai Phraphowungsai 540510191 section 007 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปสิ่งต่างๆก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ก็เช่นเดียวกับภาษาไทย เป็นภาษาที่ยังไม่ตาย ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา จนเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าตกใจ มีการใช้คำผิดวัตถุประสงค์ มีการตัดเสียง ตัดคำ เพื่อความสะดวกและโดดเด่นของวัยรุ่น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของภาษายังเกิดจากการรับอิทธิพลของต่างชาติ โดยวัฒนธรรมของต่างชาตินี้ส่งผลต่อค่านิยมของสังคมไทย จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางภาษา เพราะเด็กและเยาวชนจะทำตามหรือเลียนแบบในสิ่งที่สังคมได้ปฏิบัติหรือสื่อสารในขณะนั้น เช่น เด็กอาจนำคำที่ใช้อย่างไม่ถูกต้องมาจากพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วบอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การเลียนแบบการพูดของดารา หรือแม้กระทั่งครูที่สอน ได้สอนแบบผิดๆให้แก่นักเรียนเอง เป็นต้น ในปัจจุบันนี้มีการผลิตบัณฑิตครูภาษาไทยเป็นจำนวนมาก แต่เป็นส่วนน้อยที่ถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้นักเรียนเหล่านั้นซึมซับสิ่งผิดจากครู จนทำให้คิดไปว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง จึงนำมาใช้แบบผิดๆ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยนั่นคือการสอนวิชาภาษาไทย การเรียนในวิชาภาษาไทยนี้ถูกลดความสำคัญลง แต่กลับเน้นในภาษาต่างประเทศ เพราะอาจเล็งเห็นว่าภาษาไทยนั้นเป็นภาษาแม่ ใช้พูดคุยกันเป็นประจำ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เสียเวลา แค่ให้สื่อสารและเข้าใจก็เพียงพอแล้ว เยาวชนรุ่นใหม่จึงไม่เชี่ยวชาญในทักษะการพูดและการเขียนที่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดแบบแผนจากเดิมไปเป็นอย่างมาก ปัญหาในปัจจุบันที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็คือการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นที่ยึดเอาความทันสมัย เป็นหลักโดยลืมคิดถึงหลักการใช้อย่างแท้จริง และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือ การใช้ภาษาไม่ถูกกาลเทศะ จึงทำให้การแสดงออกทางภาษา ถูกสังคมตำหนิอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่แก้ไขได้ยากยิ่ง จึงนำไปสู่คำว่า ”ภาษาไทยวิบัติ” แต่กลับเป็นที่น่าตกใจอีกครั้งเมื่อสังคมกลับเห็นว่า คำที่ทำให้ภาษาไทยวิบัตินั้น ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะให้ความสำคัญ จึงไม่รีบแก้ไขปล่อยให้สิ่งที่ผิดๆเหล่านั้นลุกลาม และ ควบคุมไม่ได้ ถ้าพูดถึงอีกส่วนหนึ่งของภาษาไทยก็คงจะไม่พ้นวรรณคดีไทย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ธำรงซึ่งสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องจากวรรณคดีไทย จะสอดแทรกคำสอน คติ และข้อคิดต่างๆ โบราณได้ใช้วรรณคดีมาทำประโยชน์ต่างๆเช่น การนำวรรณคดีมาแต่งเป็นละครให้ข้อคิดสอนใจ หรือแม้กระทั่งใช้วรรณคดีเป็นแหล่งความรู้ เป็นต้น แต่ปัจจุบันวรรณคดีไทยได้กลับกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อในการอ่าน ไม่ดึงดูดใจ ไม่น่าศึกษา จึงทำให้วรรณคดีไทยนั้นเลือนหายไปจากสังคมเรื่อยๆ ถ้อยคำ ฉันทลักษณ์ทางภาษาที่งดงามก็ไม่ค่อยปรากฎให้เห็น อาจกล่าวได้ว่า ภาษาไทยในยุคสมัยที่ต่างกันก็จะมีความแตกต่างของภาษาอย่างชัดเจน ทั้งบทบาทและหน้าที่ของภาษาไทย เป็นสาเหตุให้ภาษาไทย เปลี่ยนแปลงในยุคเปลี่ยนผ่าน

    • Kriangkrai Phraphowungsai 540510191 section 007 on said:

      ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน (((()))(
      เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปสิ่งต่างๆก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ก็เช่นเดียวกับภาษาไทย เป็นภาษาที่ยังไม่ตาย ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา จนเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าตกใจ มีการใช้คำผิดวัตถุประสงค์ มีการตัดเสียง ตัดคำ เพื่อความสะดวกและโดดเด่นของวัยรุ่น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของภาษายังเกิดจากการรับอิทธิพลของต่างชาติ โดยวัฒนธรรมของต่างชาตินี้ส่งผลต่อค่านิยมของสังคมไทย จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางภาษา เพราะเด็กและเยาวชนจะทำตามหรือเลียนแบบในสิ่งที่สังคมได้ปฏิบัติหรือสื่อสารในขณะนั้น เช่น เด็กอาจนำคำที่ใช้อย่างไม่ถูกต้องมาจากพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วบอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การเลียนแบบการพูดของดารา หรือแม้กระทั่งครูที่สอน ได้สอนแบบผิดๆให้แก่นักเรียนเอง เป็นต้น ในปัจจุบันนี้มีการผลิตบัณฑิตครูภาษาไทยเป็นจำนวนมาก แต่เป็นส่วนน้อยที่ถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้นักเรียนเหล่านั้นซึมซับสิ่งผิดจากครู จนทำให้คิดไปว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง จึงนำมาใช้แบบผิดๆ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยนั่นคือการสอนวิชาภาษาไทย การเรียนในวิชาภาษาไทยนี้ถูกลดความสำคัญลง แต่กลับเน้นในภาษาต่างประเทศ เพราะอาจเล็งเห็นว่าภาษาไทยนั้นเป็นภาษาแม่ ใช้พูดคุยกันเป็นประจำ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เสียเวลา แค่ให้สื่อสารและเข้าใจก็เพียงพอแล้ว เยาวชนรุ่นใหม่จึงไม่เชี่ยวชาญในทักษะการพูดและการเขียนที่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดแบบแผนจากเดิมไปเป็นอย่างมาก ปัญหาในปัจจุบันที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็คือการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นที่ยึดเอาความทันสมัย เป็นหลักโดยลืมคิดถึงหลักการใช้อย่างแท้จริง และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือ การใช้ภาษาไม่ถูกกาลเทศะ จึงทำให้การแสดงออกทางภาษา ถูกสังคมตำหนิอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่แก้ไขได้ยากยิ่ง จึงนำไปสู่ การวิบัติของภาษาไทย แต่เป็นที่น่าตกใจอีกครั้งเมื่อสังคมกลับเห็นว่า สิ่งที่ทำให้ภาษาไทยวิบัตินั้น ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะให้ความสำคัญ จึงไม่รีบแก้ไขปล่อยให้สิ่งที่ผิดๆเหล่านั้นลุกลาม และ ควบคุมไม่ได้ วรรณคดีไทยเป็น ส่วนหนึ่งของภาษาไทยและเป็นความภูมิใจของบรรพบุรุษไทย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ธำรงซึ่งสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องจากวรรณคดีไทย จะสอดแทรกคำสอน คติ และข้อคิดต่างๆ โบราณได้ใช้วรรณคดีมาสร้างประโยชน์ต่างๆเช่น การนำวรรณคดีมาแต่งเป็นละครให้ข้อคิดสอนใจ หรือแม้กระทั่งใช้วรรณคดีเป็นแหล่งความรู้ เป็นต้น แต่ปัจจุบันวรรณคดีไทยได้กลับกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่ดึงดูดใจ ไม่น่าศึกษา จึงทำให้วรรณคดีไทยนั้นเลือนหายไปจากสังคมเรื่อยๆ ถ้อยคำ ฉันทลักษณ์ทางภาษาที่งดงามก็ไม่ค่อยปรากฎให้เห็นในสังคมปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ในยุคเปลี่ยนผ่านภาษาไทยย่อมเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของภาษานั่นก็คือคนไทย ว่าจะทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงให้ทางที่ดีขึ้น หรือไม่ ?

  35. Nuttiwoot Juntasin 532110035 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย คือ สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม คำ วลี และประโยคที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตามยุคสมัยนั้น จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาก เพราะ อดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ยังมีการสอนที่ยึดหลักตามหนังสือเรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการสอบเลื่อนชั้นเท่านั้น เช่น การออกเสียงของคำบางคำ คำราชาศัพท์ และที่มาของคำ เป็นต้น เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย น้อยมากที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงภาษาให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ความสะดวก ความรวดเร็ว การจำกัดขอบเขตจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนในสมัยนี้ ที่มาการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ เช่น การสื่อสารผ่านทาง เอ็มเอสเอ็น เฟซบุ๊ค และทวิทเตอร์ เป็นต้น การติดต่อสื่อสารที่กล่าวข้างต้นนี้จึงต้องเน้นความกระชับ และนำภาษาพูดมาใช้มาก เพื่อลดอุปสรรคของการจำกัดข้อความ ที่ไม่ให้เกินตามที่กำหนด จึงเกิดคำหรือวลีใหม่ขึ้น อย่างคำว่า สวัสดี ก็ใช้คำว่า ดี คำว่า ทำไม ก็ใช้คำว่า ไม คำว่า มีอะไร ก็ใช้คำว่า ไร แทน อย่างนี้เป็นต้น ภาษาเช่นนี้จึงมีผู้ออกมาโต้แย้งว่าเป็นภาษาที่ผิด เป็นภาษาวิบัติ เพราะไม่ถูกต้องตามหลักที่ถูกกำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่มักไม่ให้คำอธิบายว่าผิดอย่างไร ก่อให้เกิดความสับสน ไม่ชัดเจนอย่างไร ผู้สอนภาษาไทยมักมองข้ามปัญหานี้และไม่มีการออกข้อสอบหรือแบบฝึกหัด จึงทำให้ผู้เรียนไม่ได้ใช้ความคิด การพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาไทยจึงเป็นไปได้อย่างไม่ดีเท่าที่ควร ศักยภาพของผู้สอนและผู้เรียนก็ไม่ได้นำออกมาใช้มากเท่าที่ควรเพราะ ยึดตามหนังสือเรียนเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมที่จัดมักไม่ได้จัดขึ้นเพื่อให้ได้ใช้ทักษะในการวิเคราะห์ การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนใหญ่มักจำกัดกรอบโดยตั้งหัวข้อเรื่องไว้ การพัฒนาทางภาษาจึงเกิดขึ้นได้ยาก หนังสือเรียนเพื่อการเรียนการสอน ก็ยึดหลักความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ใช้หลักการจำเป็นส่วนใหญ่ การวิเคราะห์วรรณคดีหรือวรรณกรรมมักเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เมื่อเรียนจบผู้เรียนก็ทิ้งหนังสือในระดับนั้นๆไป แล้วใช้หนังสือเรียนในระดับที่สูงกว่าแทน ความรู้ในระดับที่ผ่านมาถูกลืม เพราะไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันมาก ส่วนใหญ่ที่ได้ใช้เป็นภาษาเพื่อเป็นการสื่อสาร ซึ่งในหนังสือเรียนมีการเน้นย้ำที่น้อยมาก จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาเหล่านี้ตามมา ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่และต้องปรับปรุงอยู่เสมอ หากเราไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีเท่าที่ควร การมองข้ามเรื่องเล็กน้อย การมองความสำคัญของปัญหาผิด และการไม่ได้ใช้ทักษะความคิดในการพัฒนาภาษา จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

  36. Kittiwat Chaiwan 532110009 on said:

    ภาษาถือเป็นเครื่องหมายในการสื่อความหมายของมนุษย์ และภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน เช่น การพูดที่กำกวม การเขียนโดยใช้ภาษาพูด เป็นต้น จนทำให้เกิดเป็นภาษาวิบัติ โดยเฉพาะปัจจุบันภาษาวิบัติถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มนักเรียนอาจจะเป็นเพราะว่าภาษาวิบัติเป็นภาษาที่เขียนง่าย เข้าใจง่าย ของกลุ่มนักเรียนจนถูกนำมาใช้ที่ผิดๆ การใช้ภาษาที่ผิดก็ไม่อาจจะสามารถโทษนักเรียนเองได้ทั้งหมดที่นำเอาภาษาวิบัติมาใช้ เพราะการเรียนการสอนของตัวนักนักเรียน สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว รวมไปทั้งการสอนของครู ก็มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดการใช้ภาษาที่ผิด โดยตัวนักเรียนเองก็เข้าใจว่าภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติ ก็ฟัง พูด อ่าน และเขียนป็นตั้งแต่เด็ก และก็คิดว่าไม่จำเป็นที่จะได้รับการเรียนการสอนเพิ่มเต็ม จนทำให้ขาดการเอาใจใส่ และขาดความพยายามที่จะเข้าใจในภาษาจึงทำให้ขาดความรู้เกี่ยวกับภาษา ส่วนการสอนของครู ก็เป็นเพราะว่าครูจะสอนเนื้อหาตามหนังสือเรียนอย่างเดียว สอนใช้ภาษาแต่ขาดการสื่อสาร รวมทั้งครูก็ไม่เข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแน่ชัด และการสอนในระดับมหาวิทยาลัย จะไม่มีการบังคับให้เรียนวิชาภาษาไทย เพราะคิดว่าตัวนักเรียนได้รับการสอนวิชาภาษาไทยในระดับประถมและมัธยมมามากพอแล้ว และส่งผลทำให้เกิดการใช้ภาษาวิบัติ จะเห็นได้ว่าทั้งนักเรียน และครูก็มีส่วนทำให้เกิดการใช้ภาษาที่ผิด ก็ไม่สามารถโทษใครได้ทั้งหมดว่าผิด ตัวนักเรียนเองก็ควรจะฝึกทักษะต่างๆให้แก่ตนเองทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เช่น การฟัง ก็ควรดูรายการข่าวบ้าง แทนที่จะดูรายการเกมโชว์ ละครอย่างเดียว เพราะนักข่าวส่วนใหญ่จะใช้ภาษาที่เป็นทางการในการส่งสาร ในทางตรงกันข้ามเกมโชว์ก็จะใช้ภาษาที่ไม่ค่อยเป็นทางการ หรือมีการนำภาษาวิบัติเข้ามาใช้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดเวลา เราก็ควรจะใช้ภาษาให้ถูกต้องตามกาละเทศะ และก็ควรเปิดใจรับกับภาษาวิบัติไว้บ้าง เพราะภาษาเป็นเครื่องมือในการการสื่อสาร ย่อมมีการนำคำที่สั้นแล้วได้ความหมายนำมาใช้เสมอ แม้จะเป็นคำที่กำกวม คนที่รับสารนั้นอย่างน้อยก็พอจะเข้าใจกับสารที่คนส่งสารส่งมาให้ และไม่มีมนุษย์คนไหนมีภาษาเป็นของตนเอง เพราะทุกสิ่งเกิดจากการเรียนรู้ และไม่ผิดหากเราใช้ภาษาวิบัติ แต่ก็ควรใช้ให้ถูกกาลเทศะ ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาแม้กระทั่งภาษา

  37. Pakkawin Chanchanapai 532110070 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

    ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามยุคสมัย การติดต่อสัมพันธ์ในปัจจุบันมีความเร่งรีบกว่าแต่ก่อนมาก ทำให้เกิดภาษาแปลกใหม่ขึ้นเพื่อให้ใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องมากพิธี ซึ่งสมัยนี้ภาษาได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากในโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อทำให้สามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้น เช่น “โย่” แทน “สวัสดี” ,”ใจมาก” แทน “ขอบใจมาก” และ “ไร” แทน “อะไร” เป็นต้น อีกประการหนึ่งอาจมีการผสมภาษาไทยกลางเข้ากับภาษาท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนี้สภาพทางสังคมหรือผู้เลี้ยงดูที่ต่างกัน ทำให้ภาษาของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันไป ไม่เพียงเท่านั้น การพูดออกเสียงไม่ชัดเจนอาจทำให้ภาษาเพี้ยนไปได้ คำควบกล้ำบางคำคนสมัยนี้แทบไม่ออกเสียงคำควบกล้ำกันแล้ว หรือ เสียง “ร.เรือ” หายไปกลายเป็นเสียง “ล.ลิง” แทน ซึ่งสื่อเป็นส่วนสำคัญในการใช้ภาษา เพราะคนในยุคนี้เสพสื่อกันมากกว่าแต่ก่อน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น ถ้าหากสื่อออกเสียงไม่ถูกต้องจะทำให้ประชาชนออกเสียงไม่ถูกต้องตามไปด้วย ไม่เพียงเท่านี้ การที่ประเทศไทยเปิดกว้างรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกมากเกินไป เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา มีการใช้คำทับศัพท์แทนภาษาไทยมากมาย โดยไม่คำนึงว่าผู้รับสารจะเข้าใจหรือไม่ เกิดขึ้นบ่อยในการเรียนระดับอุดมศึกษา ที่อาจารย์บางท่านจะคิดไปเองว่า นักศึกษาเข้าใจแล้ว หรือรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากความ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียแก่ภาษาได้ ทั้งนี้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การศึกษาต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ประเทศไทยยังใช้วิธีการเรียนการสอนที่เหมือนแต่ก่อน ไม่ได้ทำให้ทันสมัยขึ้น อาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายกับการเรียนภาษาแทนที่จะหันมาอนุรักษ์ภาษาของชาติ ดั่งที่ศาสตราจารย์พิเศษ มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม” เห็นได้ว่าการใช้ภาษาไทยในสมัยปัจจุบันมีอิทธิพลส่วนหนึ่งมาจากคุณครูผู้สอน การสอนภาษาไทย ไม่ควรบอกสิ่งที่ถูกหรือผิดให้นักเรียนได้รับรู้ก่อน ควรสอนให้นักเรียนรู้จักคิด และตีความเอง แล้วสรุปในตอนท้ายว่าสิ่งใดถูกหรือไม่ถูกต้อง จึงจะเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนมากกว่า ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนอีกประการหนึ่งคือ การให้นักเรียนอ่านบทความเก่าในอดีต และให้คิดแบบคนสมัยก่อน ซึ่งนักเรียนนั้นอยู่กันคนละยุค และสภาพแวดล้อมต่างกับผู้เขียนบทความ ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหานั้นได้ยากยิ่ง ซึ่งการสอนควรทันสมัยให้เข้ากับยุคเปลี่ยนผ่าน คุณครูเป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยเตือนเรื่องการใช้ภาษาแก่เยาวชน เพื่อให้ภาษาไทยพัฒนาไปในทางที่ควรเป็น ดังเห็นได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตายสามารถเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามยุคสมัย

  38. Nitchakan Chaikham 540110034 (009) on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ภาษาไทยในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านที่ทุกคนต้องให้ความสนใจ เพราะการเปลี่ยนผ่านของภาษาไทยเกิดขึ้นทั้งในเรื่องของการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน การใช้ภาษาไทยในทักษะดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของคนไทยซึ่งมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากาลเวลาที่ล่วงเลยไปย่อมทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ภาษาก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่ประการใด แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าทักษะภาษาที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายดายที่สุดคือการพูด เพราะการพูดเป็นทักษะพื้นฐานแรกสุดที่ใช้ในการสื่อสาร นอกจากนี้การพูดยังมีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจะเกิดภาษาพูดสมัยใหม่ขึ้นตลอดเวลา อาทิ คำว่า กาก เกรียน ที่แสดงถึงพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา และ คำว่าชิมิที่แปลงมาจากคำว่าใช่ไหม เป็นต้น คำเหล่านี้เกิดขึ้นและให้ความหมายตามยุคสมัยซึ่งหากนำไปสนทนากับคนในยุคร้อยปีที่ผ่านมาย่อมเกิดความไม่เข้าใจในการสื่อสารอย่างแน่นอน ส่วนประเด็นในเรื่องของการฟังนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับการพูดเป็นอย่างมาก เพราะหากผู้พูดส่งสารที่ต้องการสื่อออกไปแล้วผู้ฟังไม่เข้าใจ การฟังหรือการรับสารย่อมไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องมาจากการพูดหรือการส่งสารเช่นเดียวกัน ซึ่งในประเด็นนี้ การเปลี่ยนผ่านและยุคสมัยย่อมมีอิทธิพลต่อการสื่อสารหรือการใช้ภาษาเป็นอย่างมากดังตัวอย่างภาษาสมัยใหม่ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนั้นการอ่านก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการเขียน การอ่านเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการปลูกฝังตั้งแต่ในระดับสถาบันที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดคือสถาบันครอบครัว รวมไปถึงสถาบันที่มีความสำคัญและอิทธิพลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือสถาบันการศึกษา เริ่มจากสถาบันครอบครัวที่ต้องปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน โดยให้บุตรหลานอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาตามความเหมาะสมและความสามารถ ในเด็กเล็กอาจจะเน้นหนังสือที่มีรูปภาพประกอบมาก ตัวหนังสือน้อย พอเริ่มโตขึ้นก็ให้อ่านหนังสือที่มีเนื้อหามากขึ้น ส่วนในสถาบันการศึกษาต้องให้นักเรียนนักศึกษาเป็นผู้ค้นคว้าแสวงหาความรู้เอง ไม่ใช่รอรับจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว การอ่านเป็นผลผลิตที่เกิดจากการเขียน งานเขียนที่ดีย่อมทำให้เกิดนักอ่านที่มีประสิทธิภาพเพราะได้เสพงานประพันธ์ชั้นดี การเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุดในบรรดาทักษะการสื่อสารทั้งสี่ การเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านมาก วิเคราะห์มาก และเขียนมาก จนเกิดความเชี่ยวชาญและชำนาญมากพอจึงจะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกมาได้ ในยุคเปลี่ยนผ่านนี้ ภาษาไทยได้รับอิทธิพลจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาที่ถูกสื่อผ่านทางการเขียนแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการใช้ภาษาไทยในยุคสมัยใหม่ผ่านทางการอ่านอันสังเกตได้ไม่ยาก เพราะการเขียนและการอ่านภาษาไทยมักจะมาควบคู่กัน ยกตัวอย่างวรรณกรรมประเภทนวนิยายที่มักมีการเขียนโดยใช้ภาษาไม่เป็นทางการหรือภาษาพูดสื่อให้กับผู้อ่านผ่านทางตัวอักษร เช่น คำว่า ใช่ไหมเขียนเป็นใช่มั้ย ได้ไหมเขียนเป็นได้มั้ย และ เลิศเขียนเป็นเริ่ด เป็นต้น นอกจากนั้น ในอดีตมีคำจากภาษาเขมรที่เขียนว่าดำเนิร แต่ในปัจจุบันเขียนเป็นดำเนินซึ่งเป็นข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดเจนข้อหนึ่งของการเขียนกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลเป็นสารมายังผู้อ่านให้รับรู้ หนทางที่จะเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของภาษาไทยสามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับบุคคลไปจนถึงระดับสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือสถานศึกษา การเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งที่สมควรปรับตามและไม่ควรสืบใช้ ซึ่งต้องมีการพิจารณาและแยกแยะเป็นประเด็น คำนวณผลดีผลเสีย ช่วยกันคิดและตัดสินใจว่าจะให้ภาษาไทยดำเนินไปในรูปแบบใด เพราะภาษาไทยเป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ซึ่งถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากอิทธิพลของยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน

  39. Nahathai Panprasit 532110029 on said:

    ปัจจุบันภาษาไทยมีความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ แต่ให้ความสนใจภาษาของชาติอื่นๆ เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงภาษาไทยนั้นมีความสำคัญมากต่อคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภาษาในปัจจุบันส่วนมากเป็นภาษาที่ตาย คือ มีหลักการใช้ที่แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย จึงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งการสื่อการและการเขียน แต่ในปัจจุบันภาษาไทยได้มีการใช้อย่างผิดเพี้ยน ภาษาจึงเกิดการวิบัติ ทั้งการพูดและการเขียน เช่น ก็ เขียนเป็น ก้อ, ขอบคุณ เขียนเป็น ขอบคุน และ ไม่ เขียนเป็น ม่าย เป็นต้น ส่วนมากคำเหล่านี้จะปรากฏในการสนทนากันผ่านทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอ็มเอสเอ็น ทวิทเตอร์ และ เฟซบุ๊ค เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้ภาษาไทยมีความสำคัญลดน้อยลง รวมถึงโฆษณา ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ส่วนสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยมีความสำคัญลดน้อยลง เหมือนกับข้อความหนึ่งในหนังสือเรื่อง ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม โดยผู้เขียนคือ ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เขียนไว้ว่า “…คนรุ่นหนึ่งกับคนอีกรุ่นหนึ่งจะใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนกัน ถ้าใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทำให้ได้ยินเสียงวรรณยุกต์ของคนหนึ่งๆ ชัดเจนและปรากฏเป็นภาพบนจอ จะเห็นว่าที่เราคิดว่าคนไทยสองคนออกเสียงใดเสียงหนึ่งเหมือนกันนั้นไม่เป็นความจริง และจะเห็นว่าคนรุ่นลูกออกเสียงนั้นเสียงนี้สูงกว่าและต่ำกว่าคนรุ่นพ่อแม่ ดังนั้นจะถือว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นความเสียหายได้อย่างไร คำตอบคือ ความเสียหายคือการสื่อสารกันไม่ได้ดี ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ การใช้คำพูดกำกวม คนที่ฟังหรืออ่านเข้าใจเลือนราง ไม่แน่ชัด นี่คือความเสียหายอย่างหนึ่ง…” จะเห็นได้ว่ายุคสมัยก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงของภาษา จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าความสำคัญของภาษาไทยได้ถูกลดลง เพราะการเปลี่ยนแปลงทางภาษาตามยุคสมัย ทำให้ภาษาเกิดความวิบัติ ดังนั้น เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยให้อยู่คู่ประเทศไทย ประชาชนทุกคนจึงควรให้ความสำคัญและใช้ภาษาไทยให้ถูกวิธี

  40. Attasith Chanrotchanaphan
    541510274 Section 007
    เขียนแสดงความคิดเห็น เรื่อง ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    “ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติไทย” แต่เหตุใดภาษาไทยจึงเป็นวิชาที่ถูกลืม? คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าเราอยู่ใกล้ภาษาไทยเสียเสียจนลืมไปว่าเรากำลังใช้ภาษาอย่างไม่ถูกต้อง เราต่างก็ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารกันแต่เราใช้ภาษาโดยสัญชาตญาณที่ไม่ได้ถูกปลูกฝังรูปแบบที่ถูกต้องไว้ ทำให้ทักษะที่พึงมีในภาษาของเรานั้นบกพร่องไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายหากลูกหลานของเราจะได้รับมรดกทางภาษาไปแบบผิดๆ ทุกคนต้องตระหนักว่าเรากำลังถ่ายทอดภาษาอยู่ หากผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดนั้นไม่มีทักษะในการใช้ภาษาและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้อื่น แล้วเขาเหล่านั้นจะรับสิ่งที่ถูกต้องไปใช้ได้อย่างไร อีกทั้งในปัจจุบันประชากรในประเทศต่างๆก็เห็นความสำคัญของการเป็นประชากรชาติตัวเองน้อยลง หากแต่พวกเขาเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนตัวเองเป็นประชากรโลก ทำให้เราทิ้งรูปแบบภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไปสู่รูปแบบของภาษาสากล คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยจำนวนมากใช้ภาษาไทยในโครงสร้างภาษาตะวันตก เช่น ฉันอยู่บนรถ เขามาในชุดสีน้ำเงินเข้ม เป็นต้น นอกจากนี้โลกออนไลน์ยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เราใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องจนเคยตัวเนื่องจากมีการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องเป็นวงกว้าง คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าภาษาผิดๆเหล่าในเป็นค่านิยมบนสังคมออนไลน์ไปแล้ว นอกจากนั้นการเสนอข่าวของสื่อยังมีส่วนส่งเสริมให้ภาษาไทยดำเนินไปในทิศทางในทิศทางหนึ่ง สื่ออาจทำให้คำบางคำผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม ทำให้เกิดคำศัพท์ใหม่หลายๆคำ รวมถึงทำให้คำศัพท์บางคำหลายไปด้วย ดังคำว่าจิตวิตถาร กามวิตถาร ฯลฯ ซึ่งพวกเราต่างเข้าใจว่าเป็นพวกจิตไม่ปกติ แท้จริงแล้ววิตถาร แปลว่าละเอียด ในปัจจุบันเราจึงเข้าใจความหมายของคำว่าวิตถารผิดจากเดิมไปโดยปริยาย ทั้งนี้ความหมายที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย ภาษาเหล่านี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แต่ปัญหาของภาษาไทยนั้นอยู่ที่ภาษาเก่าๆกำลังถูกละเลยและภาษาใหม่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ เราจึงต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้ทุกคนมีความเห็นว่าภาษาไทยเป็นถึงเครื่องมือสื่อสารของคนในชาติ ทุกคนควรให้ความสำคัญ วิชาภาษาไทยจึงมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากว่าทักษะทางภาษาของเรายังไม่ดี แล้วเราจะถ่ายทอดสิ่งต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกับเราได้อย่างไร ความเห็นที่จะให้วิชาภาษาไทยเป็นเพียงวิชาเลือก เนื่องจากเห็นว่าได้ศึกษามาตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมปลายแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราต้องตระหนักว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นเพียงพอให้ใช้สื่อสารกันทั่วไป แต่ไม่เพียงพอให้นำไปใช้อย่างถูกต้อง ภาษาไทยจึงสมควรที่จะเป็นวิชาบังคับในระดับอุดมศึกษาต่อไป เพื่อบุคคลที่เรียนในระดับสูง จะได้มีทักษะทางภาษาที่สูงพอจะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสิ่งต่างๆล้วนเปลี่ยนแปลงไป สิ่งเก่าๆที่มีการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมคงอยู่ต่อไป แต่สิ่งเก่าๆที่กำลังจะสูญหายไป ก็ย่อมต้องการสิ่งใหม่มาทดแทน ภาษาไทยก็อยู่ในยุดเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ดังนั้นเราทุกคนควรจะช่วยกันพัฒนาภาษาของเราให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่หนึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทยจะได้ดำรงอยู่ต่อไป

  41. Chanasda Chaiwan 540210162 on said:

    ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยและใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยคนไทยได้รับการฝึกทักษะโดยเริ่มจากการพูด การอ่าน และภาษาเขียน แต่คนไทยจะใช้ภาษพูดได้ดีกว่าภาษาเขียนและการอ่าน มีการใช้ภาษาพูดในชีวิตประจำวันมากที่สุด จึงทำให้เกิดการบกพร่องในการสื่อสารและการใช้ภาษาไทย เกิดการเสียหายในการใช้ภาษาที่มีสาเหตุมาจาก การเปลี่ยนแปลงของภาษาซึ่งภาษาทุกภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในปัจจุบันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายด้านโดยเฉพาะการพูดเห็นได้ชัดจากการเลียนแบบคำโฆษณา การใช้คำในอินเตอร์เน็ต ทำให้วัยรุ่นนำมาใช้กันมากในชีวิตประจำวันจึงเกิดเป็น “ภาษาวิบัติ” คือ ภาษาไม่ถูกต้องตามแบบแผน จนเกิดการเคยชิน มาใช้ในการสื่อสารรวมถึงการเรียนการสอนอีกด้วย ภาษที่วัยรุ่นใช้จะเข้าใจกันในเฉพาะหมู่หรือกลุ่มของวัยรุ่นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาถูกเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จะบังคับให้มีการแก้ไขก็คงทำได้ยาก ภาษาที่วัยรุ่นนำมาใช้กันมักมาจาภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาที่สั้นๆ ซึ่งวัยรุ่นนำมาปรับเปลี่ยนเพื่อใช้สื่อความหมายให้ฟังดูเท่ ดูดี อาจเรียกได้ว่าเป็นค่านิยมของวัยรุ่นในยุคปัจจุบันไปแล้วก็ได้ อีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือการเรียนการสอนภาษาไทยของแต่ละดับชั้น การศึกษาซึ่งครูผู้สอนจะคิดว่าวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สอนยากจึงได้สอนเหมือนในตำราไม่มีการเพิ่มเติมหรืออธิบายชี้แจงให้กระจ่างชัดแล้วมักจะแนะนำให้นักเรียนไปศึกษาเองซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกในการสอนภาษา เพราะการสอนภาษามีความซับซ้อนมากกว่าวิชาอื่นๆแต่สาเหตุของปัญหาก็ไม่ได้มาจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว สภาพสังคมก็มีส่วนเพราะคนไทยในปัจจุบันไม่ชอบอ่านหนังสือ เมื่อไม่อ่านก็ไม่สามารถพูดหรือเขียนอย่างมีประสิทธิภาพได้ เมื่อการใช้ภาษาขาดประสิทธิภาพการดำเนินชีวิตก็ขาดประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน สาเหตุเหล่านี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวเราเท่านั้นยังส่งผลกระทบต่อประเทศด้วยโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการสื่อสารทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น แต่มักจะมีอิทธิของภาษาต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนทำให้เป็นอุปสรรคในการที่จะพัฒนาประเทศ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านเกิดจากการที่ภาษาไทยในรูปแบบที่ถูกต้อง เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตามยุคสมัย ตามวัยวุฒิ และสภาพสังคมแวดล้อม ในฐานะที่เราเป็นคนไทยควรที่จะรักษารูปแบบการใช้ภาษาไทย ทั้งภาษาพูด การอ่าน และภาษาเขียน ให้ถูกต้องทั้งในการเรียน และการใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษารูปแบบของภาษาไทยและเอกลักษณ์ของชาติไทยไม่ให้สูญหายไป

  42. ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง โลกของเราในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป การใช้ชีวิตที่ต้องเร่งรีบขึ้น วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ภาษา ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อการ จึงถูกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยที่เราไม่รู้ตัว ปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงของภาษา ถือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษา ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรือไม่ดี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่ใช้ การเปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ทั้งการพูดในชีวิตประจำวัน อาจเกิดจากการกร่อนเสียง เช่น ฉันนี้ เป็น ฉะนี้ อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง การกลมกลืนเสียง เช่น ดิฉัน เป็น เดี๊ยน ดั๊น ขอรับ เป็น ครับ การตัดคำ เช่น อักโขภิณี เหลือ เหลือเป็นโข หรือ อาจเกิดจากอิทธิพลจากภาษาอื่น ทั้งการใช้คำทับศัพท์ และใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเกิดคำใหม่ๆ เช่น วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์มือถือ จานดาวเทียม หรือการเรียนภาษาของเด็ก เช่น หม่ำ อึ ฉี่ กลายเป็นคำที่ผู้ใหญ่ก็ใช้กัน เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป ยกตัวอย่างเช่นคำว่า จ๊าบ ที่เคยมีการใช้กันในหมู่วัยรุ่น และเริ่มนิยมกันมากเมื่อสื่อนำไปใช้ใน รายการโทรทัศน์ มีการถกเถียงเรื่องของภาษาวัยรุ่นที่ไม่นับว่าเป็นภาษาไทยกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนใช้ภาษาเดียวกันและมีการสื่อสารไปในทิศทางเดียว กัน ย่อมถือได้ว่า ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจากวัยรุ่นหรือนักวิชาการ ก็ยังคงเป็นภาษาไทย

  43. Pheerucha Srichun 532110078 on said:

    ยุคที่เปลี่ยนไปมีอิทธิพลต่อภาษาไทยที่เปลี่ยนตาม กล่าวคือการไม่หยุดนิ่งของภาษาไทยที่มีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นในทุกสมัยหรือเรียกได้ว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยังไม่ตาย ในวงการโฆษณามักใช้ถ้อยคำและสำนวนแปลกหูที่กระเทือนอารมณ์ผู้ฟังซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาด ถ้อยคำในโฆษณาจึงมีส่วนในการสร้างคำศัพท์ใหม่ให้แก่ยุคนั้น อีกประการหนึ่งวัยรุ่นมีบทบาทสำคัญในการสร้างคำแปลกใหม่ขึ้นมาในทุกสมัยเช่นกันบ้างมาจากการนำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้หรือนำมาปรับเปลี่ยนให้คำนั้นกระทบความรู้สึกเมื่อได้ฟัง “ แอ๊บแบ๊ว ” เป็นอีกถ้อยคำที่นิยมใช้กันในกลุ่มวัยรุ่นเมื่อประมาณไม่กี่ปีก่อนโดยนำเอา คำว่า “แอ๊บ” มาจากคำว่า “แอบนอร์มอล” (abnormal) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า ไม่ปรกติ มารวมกับคำว่า “แบ๊ว” มาจากคำว่า “บ้องแบ๊ว” แต่เมื่อเวลาผ่านไปมักเลิกใช้ไปแล้วจึงมีถ้อยคำใหม่เกิดขึ้นมาอีกในยุคต่อมา นอกเหนือจากนี้ยุคที่เปลี่ยนไปทำให้ภาษาไทยมีการผิดเพี้ยนในการสื่อความหมาย ทั้งการเขียน การพูด น้ำเสียงของผู้พูดในการออกเสียงที่เปลี่ยนไปตามสมัย ดังนั้นการสอนภาษาไทยในยุคปัจจุบันจึงควรสอนให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพสังคมที่เป็นอยู่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะหากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยยังคงให้ตำราเรียนและการสอนแบบมวลรวมที่หมายถึงแบบการเรียนการสอนเหมือนกันทั้งประเทศโดยไม่คำนึงว่าเด็กในแต่ละพื้นที่มีพื้นฐานและสภาพสังคมที่แตกต่างกันนั้น แล้วยังคงใช้แบบการเรียนการสอน แบบเดิมอยู่จะทำให้การศึกษาของชาติหล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก ไม่เพียงเท่านั้นการสอนก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาไทยพัฒนามากขึ้นในทุกยุคผู้สอนต้องมีความเข้าใจในตัวผู้เรียนว่ามีพื้นฐานที่ไม่เหมือนกัน ศักยภาพที่ต่างกัน วัยของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาที่ต้องการรูปแบบการสอนที่ต่างกันออกไป ยิ่งไปกว่านั้นอุปกรณ์การเรียนการสอนในแต่ละยุคเป็นอีกหนึ่งประการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการสอน เทคโนโลยีในปัจจุบันมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในการเรียนมากขึ้นจากสื่อการเรียนที่ทันสมัยแตกต่างจากในอดีตที่ยังไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยในการศึกษา นอกเหนือจากนั้นเทคโนโลยีในแต่ละยุคนั้นมีอิทธิพลต่อภาษาในยุคนั้นด้วย อย่างยุคสงครามโลกหรือเรียกกันว่ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นก็มีคำศัพท์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การรักชาติเกิดขึ้นมา ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคทองของโซเชียลเน็ตเวิร์กจึงมีอิทธิพลต่อภาษาในยุคนี้เป็นอย่างมาก เห็นได้จากภาษาที่ใช้ในเฟซบุ๊กที่ได้นำมากใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นสมัยที่เปลี่ยนไปจึงมีอิทธิพลต่อภาษาไทย

  44. เขียนแสดงความคิดเห็น เรื่อง ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    “ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติไทย” แต่เหตุใดภาษาไทยจึงเป็นวิชาที่ถูกลืม? คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าเราอยู่ใกล้ภาษาไทยเสียเสียจนลืมไปว่าเรากำลังใช้ภาษาอย่างไม่ถูกต้อง เราต่างก็ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารกันแต่เราใช้ภาษาโดยสัญชาตญาณที่ไม่ได้ถูกปลูกฝังรูปแบบที่ถูกต้องไว้ ทำให้ทักษะที่พึงมีในภาษาของเรานั้นบกพร่องไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายหากลูกหลานของเราจะได้รับมรดกทางภาษาไปแบบผิดๆ ทุกคนต้องตระหนักว่าเรากำลังถ่ายทอดภาษาอยู่ หากผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดนั้นไม่มีทักษะในการใช้ภาษาและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้อื่น แล้วเขาเหล่านั้นจะรับสิ่งที่ถูกต้องไปใช้ได้อย่างไร อีกทั้งในปัจจุบันประชากรในประเทศต่างๆก็เห็นความสำคัญของการเป็นประชากรชาติตัวเองน้อยลง หากแต่พวกเขาเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนตัวเองเป็นประชากรโลก ทำให้เราทิ้งรูปแบบภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไปสู่รูปแบบของภาษาสากล คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยจำนวนมากใช้ภาษาไทยในโครงสร้างภาษาตะวันตก เช่น ฉันอยู่บนรถ เขามาในชุดสีน้ำเงินเข้ม เป็นต้น นอกจากนี้โลกออนไลน์ยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เราใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องจนเคยตัวเนื่องจากมีการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องเป็นวงกว้าง คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าภาษาผิดๆเหล่าในเป็นค่านิยมบนสังคมออนไลน์ไปแล้ว นอกจากนั้นการเสนอข่าวของสื่อยังมีส่วนส่งเสริมให้ภาษาไทยดำเนินไปในทิศทางในทิศทางหนึ่ง สื่ออาจทำให้คำบางคำผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม ทำให้เกิดคำศัพท์ใหม่หลายๆคำ รวมถึงทำให้คำศัพท์บางคำหายไปด้วย ดังคำว่าจิตวิตถาร กามวิตถาร ฯลฯ ซึ่งพวกเราต่างเข้าใจว่าเป็นพวกจิตไม่ปกติ แท้จริงแล้ววิตถาร แปลว่าละเอียด ในปัจจุบันเราจึงเข้าใจความหมายของคำว่าวิตถารผิดจากเดิมไปโดยปริยาย ทั้งนี้ความหมายที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย ภาษาเหล่านี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แต่ปัญหาของภาษาไทยนั้นอยู่ที่ภาษาเก่าๆกำลังถูกละเลยและภาษาใหม่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ เราจึงต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้ทุกคนมีความเห็นว่าภาษาไทยเป็นถึงเครื่องมือสื่อสารของคนในชาติ ทุกคนควรให้ความสำคัญ วิชาภาษาไทยจึงมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากว่าทักษะทางภาษาของเรายังไม่ดี แล้วเราจะถ่ายทอดสิ่งต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกับเราได้อย่างไร ความเห็นที่จะให้วิชาภาษาไทยเป็นเพียงวิชาเลือก เนื่องจากเห็นว่าได้ศึกษามาตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมปลายแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราต้องตระหนักว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นเพียงพอให้ใช้สื่อสารกันทั่วไป แต่ไม่เพียงพอให้นำไปใช้อย่างถูกต้อง ภาษาไทยจึงสมควรที่จะเป็นวิชาบังคับในระดับอุดมศึกษาต่อไป เพื่อบุคคลที่เรียนในระดับสูง จะได้มีทักษะทางภาษาที่สูงพอจะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสิ่งต่างๆล้วนเปลี่ยนแปลงไป สิ่งเก่าๆที่มีการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมคงอยู่ต่อไป แต่สิ่งเก่าๆที่กำลังจะสูญหายไป ก็ย่อมต้องการสิ่งใหม่มาทดแทน ภาษาไทยก็อยู่ในยุดเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ดังนั้นเราทุกคนควรจะช่วยกันพัฒนาภาษาของเราให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่หนึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทยจะได้ดำรงอยู่ต่อไป

  45. benjapan manohan 530510276 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    ปัจจุบันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านโดยเฉพาะการพูดและกาสอนซึ่งจะเห็นได้ชัดในการพูดเป็นอย่างมากเนื่องจากการเลียนแบบคำโฆษณาที่มีการพัฒนาคำโฆษณามาก ทำให้วัยรุ่นนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบันจึงเกิดความคิดที่ว่า ”ภาษาวิบัติ” อันที่จริงแล้วภาษาโฆษณานั้นต้องใช้คำที่กระแทกความรู้สึกของผู้ฟังจึงมีคำแปลก ๆ มากขึ้นซึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์แล้วไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงเพราะมนุษย์ในสมัยปัจจุบันต้องเผชิญกับสำนวนต่าง ๆ พอเคยชินกับถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ นี้ก็จะลืมกันไปถ้าถ้อยคำสำนวนไหนคมขำถ้อยคำสำนวนนั้นก็จะมีคนจำนวนมากนำมาใช้ดังจะเห็นว่าการเลียนแบบคำโฆษณาไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องวิตกกังวลเลยแต่เรื่องที่ต้องเป็นห่วงคือ เรื่องการเรียนการสอนภาษาไทยของแต่ละระดับการศึกษาเพราะส่วนมาครูจะคิดว่าวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สอนยากจึงได้แค่สอนเหมือนในตำรา เมื่อผลลัพธ์ออกมากลับคิดว่าเป็นเพราะกระทรวงศึกษาธิการที่มีวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนแท้จริงหลักสูตรของกระทรวงทำขึ้นสำหรับให้แต่ละโรงเรียนได้เพิ่มเติมเนื้อหาการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสังคมนั้น ๆ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยขาดหนังสือในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่กระจ่างชัดทำให้ครูผู้เป็นเสมือนผู้ถ่ายทอดต้องพยายามทำให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักการจริง ๆ ของภาษาไทยแต่ครูในประเทศไทยส่วนมากจะสอนแบบให้นักเรียนฟังอย่างเดียวหรือแนะนำหนังสือให้นักเรียนไปศึกษาเองซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกในการสอนภาษาเพราะการสอนภาษาไม่เหมือนวิชาอื่นตรงที่ภาษามีความซับซ้อนมากจะทำเหมือนวิชาอื่นไม่ได้แต่สาเหตุไม่ได้มาจากครูเพียงอย่างเดียว นักเรียนและสภาพสังคมเองก็มีส่วนเพราะปัจจุบันคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือเมื่อไม่อ่านก็จะไม่สามารถพูดหรือเขียนอย่างมีประสิทธิภาพได้เมื่อการใช้ภาษาขาดประสิทธิภาพการดำเนินชีวิตย่อมขาดประสิทธิภาพด้วย สาเหตุที่ได้กล่าวมาไม่เพียงจะกระทบต่อตัวเราแต่กระทบถึงประเทศด้วย ประเทศที่กำลังพัฒนาพยายามที่จะกำหนดภาษาให้กับประเทศตัวเองเพราะประเทศเหล่านี้เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ถ้าขาดภาษาประจำชาติเป็นการขาดเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังจะเห็นว่าภาษาสำคัญกับตัวเราและประเทศชาติมากแต่ปัจจุบันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมากจนน่าเป็นห่วงอาจจะเพราะขาดอุปกรณ์ในการประกอบการเรียนการสอนและการมองข้ามความสำคัญของภาษาไทย

  46. benjapan manohan 530510276 on said:

    “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”
    กาลเวลามักพัดพาหลายสิ่งเข้ามาและพัดพาหลายสิ่งผ่านไป กาลเวลานำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางภาษาก็เป็นผลข้อหนึ่งของกาลเวลา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ภาษาของแต่ละยุคย่อมแตกต่างกัน อดีตเคยใช้อย่างไร ปัจจุบันหรืออนาคตอาจไม่ใช้อย่างนั้น เช่นอดีตใช้คำว่า “เยี่ยงไร” ปัจจุบันใช้คำว่า “อย่างไร” อดีตไม่มีคำว่า “เด็กแนว” ปัจจุบันไม่นิยมคำว่า “ขุนกล้า” เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จากเจ้าของภาษา ทุกวัยทุกรุ่นต่างมีส่วนทำให้ภาษาเปลี่ยน โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยรุ่นมักนำถ้อยคำสำนวนแปลกใหม่จากสื่อหลายแขนงมาใช้ เป็นคำศัพท์ที่ฟังแล้วติดหูหรือพูดแล้วดูดี แต่ถ้อยคำสำนวนเหล่านี้ไม่นานกาลเวลาก็พัดพาไป ไม่นานผู้คนก็ลืม แล้วหันไปใช้คำแปลกใหม่อื่นแทน ส่วนอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่ยิ่งนานวันก็ยิ่งมีผลต่อภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ โดยเฉพาะถ้อยคำสำนวนอังกฤษ ภาษาอังกฤษมีความชัดเจนในตัว บางสำนวนใช้ไม่กี่คำก็สามารถเล่าเหตุการณ์ได้เช่น 4โจรโหดขึ้นบ้าน เพราะเหตุนี้สื่อหนังสือพิมพ์หรือโฆษณา มักใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาอังกฤษในการบอกเล่าเรื่องราว และยังนำคำที่สื่อถึงอารมณ์รุนแรงประกอบเรื่องราวอีกด้วย คนไทยจึงรับถ้อยคำสำนวนภาษาอังกฤษไปใช้โดยไม่รู้ตัว ผู้เขียนเองเป็นคนหนึ่งที่ต้องพัฒนางานเขียนและการแยกแยะระหว่างสำนวนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ แต่โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนคิดว่าความหมายของถ้อยคำที่สท่อสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด หากใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาอังกฤษเพื่อรูปประโยคสวยขึ้น แต่ไม่ทำให้ความหมายของสื่อเปลี่ยนไป ถ้อยคำภาษาอังกฤษเหล่านั้นก็ยังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เสียหาย ดังที่ ศาสตราจารย์พิเศษ มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม” เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงว่า “ความเปลี่ยนแปลงเป็นความเสียหายได้อย่างไร คำตอบคือ ความเสียหายคือการสื่อสารกันไม่ได้ดี ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ” จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้ภาษาเองคือผู้ที่กำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาจะสร้างคุณหรือโทษ แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงของภาษาคือ ความสำคัญ ภาษายังคงเป็นเครื่องมือการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ การถ่ายทอดความรู้สึก การถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาจากพ่อแม่ยังคงอบอุ่นสำหรับลูกเสมอ แม้เวลาจะพัดพาให้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไป

    เบญจพรรณ มะโนหาญ

  47. sujira aryuyuen 531510262 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

    ภาษา คือเครื่องมือสื่อความหมาย สามารถทำให้ความเข้าใจตรงกัน ทุกประเทศในโลกมีภาษาเพื่อใช้สื่อสารและเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตน
    หนังสือ “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม”ของ ศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้กล่าวถึงความสำคัญของภาษาไทย ที่มีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับวิชาอื่น และการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยยังไม่มีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจาก วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน วิธีการสอนที่ไม่ได้ทำให้นักเรียนคิดเป็น ระบบการศึกษาที่ส่งผลเสียต่อการให้ความรู้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจด้านภาษาต่างกัน

    “ภาษาไทย”เป็นภาษาที่ยังไม่ตาย คือยังมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเกิดจากการนำภาษาต่างประเทศมาใช้ทับศัพท์ และคำที่เกิดจากการสร้างคำเพื่อสื่ออารมณ์ของวัยรุ่น ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งภาษาแสลง และคำศัพท์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้อนุรักษ์ภาษาไทยหลายท่าน ข้าพเจ้ามีความเห็นตามผู้เขียน ที่มองว่า การที่ภาษามีการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ต้องใช้ถูกกาลเทศะและสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้ไม่กำกวม และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

  48. ภาษาไทยย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คนรุ่นหนึ่งสืบต่อไปอีกรุ่นหนึ่งและสืบทอดภาษาต่อต่อกันมาจะใช้ภาษาผิดเพี้ยนกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทางภาษาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านรุ่นสู่รุ่น ความบกพร่องในการสอนภาษาไทยที่สำคัญที่สุดคือการขาดความเอาใจใส่และความพยายามอันที่จะค้นหาวิธีการสอนที่ได้ผล และการผลิตอุปกรณ์ไม่ก้าวหน้า อุปกรณ์ที่บกพร่องคือหนังสือ คนไทยปัจจุบันไม่ใส่ใจกับหนังสือเรียน และใช้ไม่ถูกต้อง ทำความเข้าใจในการสื่อสารภาษาแบบผิดผิด ระเบียบวิธีการสอนภาษาที่ถูกต้องคือให้ทั้งฟังและอ่านได้แจ่มแจ้งถูกตามกาลเทศะ และต้องให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อสาร ส่วนความเคลื่อนไหวในทางที่ดีของภาษาไทยคือมีหนังสือที่ผู้ทรงคุณวุฒิเขียนไว้ให้ศึกษามากมาย ครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสนใจกับภาษาไทยมากขึ้น และมีการแพร่หลายวรรณคดีทั้งเก่าและใหม่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน อีกทั้งวิถีทางที่จะปรับปรุงความเสียหายของภาษา ในเมื่อเมื่อเหตุที่ทำให้การสอนภาษาไทยไม่ดีคือความไม่รู้ต่างๆ ดังนั้นเราควรแก้ไขความเข้าใจผิดพลาดให้น้อยลง สิ่งแรกคือทำความเข้าใจว่าการสอนภาเพื่อสื่อสารจะต้องทำอย่างไรบ้าง และภาษาไทยมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทยใช้สัญญาณอะไรเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ที่สำคัญปัจจุบันคนเรามักเรียงหลีกไวยากรณ์ที่ผิด ชอบใช้หลักของภาษาต่างประเทศ เป็นประเด็นหลักที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านสู่แต่ละรุ่น ภาษาไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  49. Mathathai Kedklow 541510188 on said:

    ภาษาไทยย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คนรุ่นหนึ่งสืบต่อไปอีกรุ่นหนึ่งและสืบทอดภาษาต่อต่อกันมาจะใช้ภาษาผิดเพี้ยนกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทางภาษาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านรุ่นสู่รุ่น ความบกพร่องในการสอนภาษาไทยที่สำคัญที่สุดคือการขาดความเอาใจใส่และความพยายามอันที่จะค้นหาวิธีการสอนที่ได้ผล และการผลิตอุปกรณ์ไม่ก้าวหน้า อุปกรณ์ที่บกพร่องคือหนังสือ คนไทยปัจจุบันไม่ใส่ใจกับหนังสือเรียน และใช้ไม่ถูกต้อง ทำความเข้าใจในการสื่อสารภาษาแบบผิดผิด ระเบียบวิธีการสอนภาษาที่ถูกต้องคือให้ทั้งฟังและอ่านได้แจ่มแจ้งถูกตามกาลเทศะ และต้องให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อสาร ส่วนความเคลื่อนไหวในทางที่ดีของภาษาไทยคือมีหนังสือที่ผู้ทรงคุณวุฒิเขียนไว้ให้ศึกษามากมาย ครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสนใจกับภาษาไทยมากขึ้น และมีการแพร่หลายวรรณคดีทั้งเก่าและใหม่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน อีกทั้งวิถีทางที่จะปรับปรุงความเสียหายของภาษา ในเมื่อเมื่อเหตุที่ทำให้การสอนภาษาไทยไม่ดีคือความไม่รู้ต่างๆ ดังนั้นเราควรแก้ไขความเข้าใจผิดพลาดให้น้อยลง สิ่งแรกคือทำความเข้าใจว่าการสอนภาเพื่อสื่อสารจะต้องทำอย่างไรบ้าง และภาษาไทยมีลักษณะอย่างไร ภาษาไทยใช้สัญญาณอะไรเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ที่สำคัญปัจจุบันคนเรามักเรียงหลีกไวยากรณ์ที่ผิดชอบใช้หลักของภาษาต่างประเทศ จึงเป็นประเด็นหลักที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านสู่แต่ละรุ่น ภาษาไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  50. Sontaya Wonghorkam 540510704 on said:

    ส่งใหม่ค่ะ อาจารย์^^ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
    เราเป็นคนไทย มีเชื้อชาติ และสัญชาติไทย แต่ทำไมถึงได้มีหนังสือที่มีชื่อว่า “ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม” นั่นได้บ่งบอกว่าวิชาภาษาไทยกำลังด้อยความสำคัญและถูกลบเลือนจากความคิดและความทรงจำของคนไทย แล้วเราจะปล่อยให้ความเป็นเอกราชของชาติไทยที่บรรพบุรุษของเราได้ต่อสู้เพื่อรักษาให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้ภาคภูมิใจนั้นถูกลืมอย่างง่ายดายตามวันเวลาหรืออย่างไร
    และด้วยความรักภาษาไทยเป็นชีวิตจิตใจของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล. บุญเหลือ เทพสุวรรณ ได้เขียนหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยเห็นคุณค่าและเข้าใจอย่างถูกต้อง ที่จะมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในทุกระดับการศึกษาของไทย ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับทุกเรื่องที่ถูกเปรียบเทียบและอธิบายอย่างชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์และพฤติกรรมระหว่างการสอนภาษาไทยกับค่านิยมในปัจจุบัน ในบทความที่ว่า “คนเราถ้าไม่ต้องต่อสู้รบยื้อยุดสิ่งใด เรามักเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของหาง่าย เราไม่เคยถนอม ไม่ค่อยทำนุบำรุง ภาษาจึงมีความสำคัญน้อยในสายตาของไทยทั่วๆไป…โดยเฉพาะในวงการศึกษา” ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านได้เข้าใจถึงพื้นฐานความเป็นไทยอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง ในการบรรยายมีการยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน และเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยสำหรับผู้อ่าน เช่นบทความที่ว่า “การสอนภาษาของชาติควรได้รับความสำคัญอันดับหนึ่งในวงการศึกษา” ซึ่งได้ให้เห็นความแตกต่างกับฝรั่งเศสที่ไม่เคยเสียดายเงินหรือแรงงานในการที่จะรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ให้เป็นภาษาสื่อสารระหว่างชาติต่างๆในโลก แต่ในความบกพร่องของประเทศไทยที่จะทำให้ภาษาไทยนั้นถูกลืม คือการขาดความเอาใจใส่และความพยายามในอันที่จะค้นหาวิธีสอนที่ได้ผล และการผลิตวัสดุอุปกรณ์ไม่ก้าวหน้าทั้งที่คนไทยมีอัจฉริยะในการใช้ภาษาที่น่าสนใจคือ นิยมออกเสียงวรรณยุกต์แนบสนิทไปกับเสียงสระ แต่ถูกมองข้ามความสำคัญเพียงการสอนที่ขาดกลวิธีการสอนที่ดึงดูดใจ ผู้เรียนจึงไม่เห็นความสำคัญ เช่น การให้เขียนเรียงความจะถูกเมินไปตามกันของผู้เรียนเพราะไม่รู้จะเขียนอะไร ซึ่งเหตุก็คือไม่ได้อ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
    เมื่อสังคมเปลี่ยนไป วัฒนธรรมหลากหลายทางด้านภาษาที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของคนไทย โดยยกเว้นวัฒนธรรมไทยที่มีเพียงคนไทยส่วนน้อยมากที่เห็นความสำคัญ เพียงเพราะการรับอารยธรรมต่างชาติมาใช้โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองที่ดีซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการบกพร่องในการปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กไทยรักความเป็นไทย และขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงในเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ถ่ายทอดมาให้ได้ศึกษาในรูปแบบวรรณกรรม วรรณคดี แต่ถูกละลดความสำคัญไปกับซีรีย์เกาหลีที่ได้กลายเป็นค่านิยมของวัยรุ่นที่เป็นอนาคตของชาติไปโดยห้ามมิได้ ซึ่งเห็นผลที่มีอยู่ทุกวันนี้ คือ นักเรียนไม่ชอบวิชาภาษาไทย อย่างไรก็ตามวิชาภาษาไทย ไม่น่าจะถูกลืมทั้งหมดแต่อาจจะมีความสำคัญในนักเรียนบางกลุ่มหรืออาจจะถูกนำมาเป็นค่านิยมที่คนไทยทุกคนรู้จักและไม่ปฏิเสธที่จะรักษาและดำรงให้สืบทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไปของชาติไทย ถ้าหนังสือ ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนการสอนของผู้สอนวิชาภาษาทุกคนและมีการนำเนื้อหา ข้อคิดเห็นของศาสตราจารย์พิเศษ ม.ล. บุญเหลือ เทพสุวรรณ ที่ได้แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยว่าควรนำไปใช้อย่างยิ่ง หนังสือที่วางไว้บนชั้นวางตามร้านขายหนังสือหรือห้องสมุดเล่มนี้อาจเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของชาติไทย ในด้านที่ดีทางภาษา หลักการ และวรรณคดีไทยต่อไป

  51. Chayangkoon Suwannasin 532110023 on said:

    ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน

    การใช้ภาษาไทยย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งภาษานั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ในยุคที่การเริ่ม การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดนั้น ถือเป็นยุคเปลี่ยนผ่าน คือความเริ่มมีการพัฒนาทางภาษา เช่น การแปลงคำ การใช้คำผิด และการคิดค้นคำหรือวลีใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถใช้ได้เหมาะสม ทันสมัยแก่ยุคนั้น ขณะเวลาดำเนินไป ย่อมมีการใช้ภาษาที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากหลากหลายสาเหตุ เหตุหนึ่งคือ การให้ความสำคัญกับภาษาไทยของคนไทยเองนั้น ยังมีน้อย เพราะเห็นว่าสามารถพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงไม่ให้ความใส่ใจการใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักเดิมมากนัก อาจเกิดการพูดคำผิด เขียนคำผิด และเลือกใช้คำผิด ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องจากยุคสมัยที่ไม่เหมือนเดิม การดำเนินชีวิตต่างออกไป การใช้ภาษาไทยจึงเปลี่ยนไปด้วย เห็นได้ชัดในปัจจุบัน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ทำให้ใช้ภาษาอย่างเร่งรีบตาม การพูด ร หันมาใช้ ล ในการพูดแทน หรือแม้กระทั่งการตัดคำออก เป็นคำห้วน เช่น อะไร เหลือแค่ ไร คำว่า สนุก ใช้พูดแค่ว่า หนุก และสนิทสนม พูดแค่ว่า หนิดหนม เป็นต้น เพราะเห็นความสะดวกในการพูด และเข้าใจตรงกันได้ การใช้คำที่แปลกออกไปของวัยรุ่น เพื่อแสดงถึงอารมณ์ให้เด่นชัดขึ้น สร้างความแตกต่าง และเข้าถึงกันในวัยเดียวกันได้ อาทิ กาก เสี่ยว เกรียน เป็นต้น เทคโนโลยีเองก็มีความสำคัญทำให้ง่ายและสะดวกในการสื่อสาร อย่างการสื่อสารกันด้วยการพิมพ์ ถือเป็นการเขียน ในวัยรุ่นมักเขียนคำที่ผิดแปลกออกไป เช่น ทำมัย เวรกำ และหัวจัย เป็นต้น อีกสาเหตุที่เห็นชัดหนึ่งคือ อิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ การใช้ภาษาไทยถูกลดความสำคัญลง ปัจจุบัน อิทธิพลจากหลากหลายประเทศเข้ามามาก ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี และอังกฤษ ล้วนแล้วแต่ทำให้ค่านิยม สังคมไทย เปลี่ยนไป การใช้ภาษาไทยก็เปลี่ยนตามไปด้วย เกิดคำใหม่ เพื่อให้เข้าใจใกล้เคียงกับภาษาอื่น หรืออาจเกิดคำใหม่เพราะเป็นคำที่ไม่สามารถสื่อความหมายโดยตรงในภาษาไทยได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นแค่การยกมานำเสนอเพียงส่วนหนึ่ง ผลลัพธ์จากสาเหตุเหล่านี้ ทำให้การใช้ภาษาไทย มีความเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น มีคำใหม่ ความหมายใหม่มากขึ้น คำบางคำถูกเขียนผิด หรือพูดผิดออกไป บางคนเข้าใจว่าเป็นภาษาวิบัติ ซึ่งหากมองอีกทางแล้ว เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของการใช้ภาษาเท่านั้นเอง ถึงกระนั้น ควรให้ความสำคัญและใส่ใจกับภาษาไทยมากขึ้น เพื่อการพัฒนาภาษาไทยในด้านอื่นด้วย ในทุกด้านควรไปพร้อมกัน จึงจะสามารถตั้งภาษายืนหยัดต่อไปอีกได้นาน และควรตระหนักว่าแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปนานไปเท่าไหร่ การใช้ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเสมอ

  52. SOMREUTHAI CHAIAUKSON on said:

    “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”
    การที่ภาษามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ เช่น การสื่อสารที่ผิดเพี้ยน เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นไปด้วยประสิทธิภาพ การใช้คำพูดกำกวมทำให้คนที่ฟังได้ยินไม่ชัดเจนจึงทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับภาษา ในแต่ละประเทศที่มีภาษาเป็นของตนเองจึงพยายามที่จะอนุรักษ์ภาษาของตนนั้นไว้ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เนื่องจากภาษาไทยมีมานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง ซึ่งแต่ละยุคแต่ละสมัย มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน ตามราชวงศ์ที่ปกครอง จึงทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจนมาถึงในยุคปัจจุบัน การเรียนการสอนในแต่ละระดับมีการสอนที่เหมือนๆกันแต่นักเรียนมาจากท้องถิ่นที่แตกต่างกัน อีกทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนก็ขาดแคลน แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงของภาษานั้นคือ วัยรุ่น วัยรุ่นมีบทบาทอย่างมากในการทำให้ภาษาเสียหาย วัยรุ่นมักชอบสร้างสรรค์ประโยคใหม่ๆขึ้นมาตามความคิดของตนเองซึ่งขัดกับหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไป ข้าพเจ้าคิดเห็นว่า ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีวัฒนธรรมทางภาษาที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่เวลาที่เรามาสื่อสารกัน เราจะใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารเพื่อความเข้าใจตรงกันของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการอนุรักษ์ภาษาไทยกลางให้มีความถูกต้อง เราควรเริ่มต้นจากวิธีการสอนของครูผู้สอนที่ต้องสอนให้นักเรียนนักศึกษาได้ลองคิดเองแล้ว ยังต้องปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษามีความรัก ตระหนักและมีความภูมิใจที่ได้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง วัยรุ่นหรือนักเรียนนักศึกษาเองก็ต้องยอมรับ และฝึกหัดใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตรงตามหลักภาษา เพื่อให้ภาษาไทยของพวกเราที่พวกเรารัก ยังคงความสวยงาม มีความถูกต้องไม่ได้เลือนหายไปตามยุคสมัย เพื่อให้ลูกหลานไทยได้รับศิลปะอันสวยงามและถูกต้องนี้ต่อไป

  53. Anothai Sarajun 540510718 on said:

    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณคือคนไทยคนหนึ่ง อันมีเอกลักษณ์คือ ภาษาไทย เป็นภาษาที่สืบทอดมาตั้งแต่
    บรรพบุรุษ แล้วพบกับตัวอักษรบนปกหนังสือที่ประกอบกันได้เป็นประโยค ว่า “ภาษาไทย วิชาที่ถูกลืม” คุณเกิดความคิดอะไรไหม สงสัยหรือเปล่าว่าเพราะเหตุใด “ภาษาไทย-วิชาที่ถูกลืม” หนังสือเล่มนี้เขียนโดยศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ
    ข้าพเจ้าได้อ่านข้างในของหนังสือเล่มนี้แล้วข้าพเจ้าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับทุกเรื่องที่ผู้เขียนได้กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน พฤติกรรมของครูและนักเรียนระหว่างการสอนวิชาภาษาไทยรวมถึงค่านิยมในปัจจุบัน ที่ส่งผลทำให้วิชาภาษาไทยนั้นมีความสำคัญน้อยลงไป ดังข้อความที่กล่าวว่า “เรามักเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของหาง่าย เราไม่เคยถนอม ไม่เคยทำนุบำรุง ภาษาจึงมีความสำคัญน้อยในสายตาของไทยทั่วๆไป…โดยเฉพาะในวงการศึกษา” กล่าวคือ ภาษาไทยเป็นวิชาที่เราได้เรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนโต เป็นภาษาที่อยู่ใกล้ตัวจนทำให้ถูกมองข้ามไป น้อยคนนักที่จะเห็นความสำคัญและให้ความสนใจ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากวิธีการสอนของอาจารย์ การขาดแคลนอุปกรณ์โดยเฉพาะหนังสือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษา และการขาดความเอาใจใส่ของผู้เรียน เช่น โรงเรียนในชนบทที่ความเจริญเข้าไม่ถึง เด็กมักใช้ภาษาวิบัติหรือคำแสลง และวิชาภาษาไทยในความรู้สึกของผู้เรียนเป็นสิ่งที่น่าเบื่อเพราะถูกใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และครูที่ไม่ได้ค้นหาวิธีการสอนใหม่ๆที่เหมาะกับเด็กในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ซึ่งควรปรับแผนการสอน เป็นต้น แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับผู้เขียนในบทความที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่านหนังสือของคนไทย ที่กล่าวว่า คนไทยจึงเป็น “สังคมไม่อ่าน” ที่มีการนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่น การที่คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือไม่ใช่คนไทยมีความรู้ต่ำแต่เพราะในอดีตคนไทยชอบพูดและฟังมากกว่าการอ่านหรือเขียน ซึ่งจะเห็นได้จากการเล่านิทานให้เด็กฟัง การท่องทำนองเสนาะ ขับเสภาโดยไม่ต้องยกหนังสืออ่านและพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่เป็นรากเง้าของคนไทย ทำให้คนไทยมีทักษะในด้านความจำและการฟังที่ดีมากกว่าชนชาติอื่นๆ ในทางกลับกันด้วยการเรียนรู้เช่นนี้ทำให้คนไทยค่อยๆ สูญเสียทักษะในการพูด อ่าน เขียน ลงไปทุกทีทุกที อย่างไม่ได้ระมัดระวังและไม่ได้ตั้งใจ
    ปัจจุบันวิชาภาษาไทยนั้นถูกมองว่ามีการให้ความสำคัญน้อยลง อาจจะเป็นเพราะมีการรับเอาวัฒนธรรมของต่างประเทศเข้ามาทำให้หลงลืมความเป็นเอกลักษณ์ของไทยในที่นี้คือ ภาษาไทยนั่นเอง หากไม่มีการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับการศึกษา หรือปล่อยไว้เช่นนี้ ในอนาคตของประเทศไทยอาจไม่เอกลักษณ์ความเป็นไทยหลงเหลือไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจได้ และภาษาไทยอาจจะกลายเป็นวิชาที่ถูกลืมในท้ายที่สุด

  54. THOSAPORN POOKJOHN 532110038 009 on said:

    “ภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน”
    ภาษาเป็นสิ่งที่เราจะได้ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดย เรานั้นมีภาษาเป็นของตนเอง หรือเป็นของประจำชาติ ที่ทุกชนชาติต่างมีภาษาหลักประจำชาติ เพื่อเป็นสิ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาหาความรู้ แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นจะต้องใช้ภาษาไทยในการติดต่อกัน เราจึงต้องมีความรู้ เกี่ยวกับภาษาเป็นอย่างดี ตั้งแต่เด็กเล็ก เป็นวัยที่ เริ่มหัด พูด หัดเขียน และเรียนรู้ ในเรื่องของภาษาไทย จึงต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนอย่างจริงจัง เช่น การอ่าน การพูด การฟัง การเขียน และการรวบรวมองค์ความรู้ มาใช้ในการดำรงชีวิตรวมไปถึงการทำงาน โดยภาษาไทยนั้น ต้องมีผู้สอนที่มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาไทยเป็นอย่างดี จึงจะถ่ายทอดทักษะ กระบวนการ และองค์ความรู้ ให้กับ นักเรียน นักศึกษา ที่จะได้สั่งสมประสบการณ์ ในระดับโรงเรียน ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ได้อย่างมีหลักการ ตามหลักวิชาการ จึงจะทำให้เข้าใจถึงภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงผู้ที่อบรมสั่งสอนที่ใกล้ชิดมากที่สุด คือ สถาบันครอบครัว ที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจบุตรหลานของตน ในการที่จะพร่ำสอน ว่ากล่าว ตักเตือนในเรื่องต่างๆแล้ว เรานั้น จะได้เรียนรู้จากบุคคลในครอบครัว สิ่งแวดล้อมต่างๆใกล้ตัว กลุ่มเพื่อน และผู้คนในสังคม จากสื่อหนังสือพิมพ์ หรือข่าวสารจากโทรทัศน์ จึงถือได้ว่า ภาษาเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรามาอย่างช้านาน ไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนสมัยใด ก็ตาม ปัจจุบันนี้ก็เป็นยุคที่ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ การใช้อินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบาย ให้กับสังคมวัยรุ่น ที่จะแปลงรูปแบบ หรือวิธี การสื่อสาร ไปตามที่ตนเข้าใจโดยใช้คำศัพท์ ที่ผิดไปจากแบบแผน มีการตั้งศัพท์ใหม่ มาใช้งาน จนทำให้กลายเป็นเรื่องที่ปกติ ที่มีอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันนี้ หากเรามองย้อนถึงแหล่งที่มาของภาษาไทย ก็เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงวัฒนธรรม ประเพณี ที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การ มีอักษร สระ และวรรณยุกต์ ในการที่จะประสม รวมรวมในทางภาษาให้ได้ใช้กันอย่างมากมาย แต่คนรุ่นหลังส่วนใหญ่ หรือกลุ่มวัยรุ่นที่มีความคิด ที่มีหลายรูปแบบ ทำสิ่งต่างๆตามใจตน ก็จะไม่ค่อยได้ใส่ใจถึงแหล่งที่มาของภาษาที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้น มีแบบแผนมาอย่างช้านาน สิ่งที่สำคัญสำหรับภาษาไทยเราจึงควรเห็นประโยชน์ ที่จะต้องสืบทอด และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของภาษาไทยไว้ เพื่อให้เห็นคุณค่าของภาษาไทยที่ได้ใช้มาอย่างต่อเนื่อง โดยคนรุ่นใหม่จะต้องช่วยกัน ดูแลรักษา เพราะภาษาไทยที่เป็นสิ่งสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดเพื่อเกิดคุณค่าต่อประเทศและคนรุ่นต่อไปในอนาคต

ส่งความเห็นที่ Pakkawin Chanchanapai 532110070 ยกเลิกการตอบ